รูปแบบการสร้างคณะนักร้องประสานเสียงตามมาตรฐานสากล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสรุปกรอบแนวคิดรูปแบบการสร้างคณะนักร้องประสานเสียงตามหลักมาตรฐานสากลและ 2) ศึกษากระบวนการพัฒนาทักษะ และการเตรียมความพร้อมของคณะนักร้องประสานเสียงโดยศึกษาจากคณะนักร้องประสานเสียงต้นแบบซึ่งมีประสบการณ์ในการแข่งขันระดับนานาชาติ การวิจัยเป็น การวิเคราะห์แนวคิดรูปแบบการสร้างคณะนักร้องประสานเสียงจากข้อมูลเอกสาร วีดิโอคลิปการแสดง และเทปเสียง ผลการวิจัย พบว่า
1.กรอบแนวคิดรูปแบบการสร้างนักร้องประสานเสียงตามหลักมาตรฐานสากลเป็นการศึกษาแบบจำลองความคิดการสร้างแบบแผนการทำงาน โดยคำนึงถึงการเชื่อมโยงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดและการกระทำ ซึ่งการเชื่อมโยงระหว่างองค์รวมกับองค์ประกอบดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้และเป็นสิ่งที่สนับสนุนสอดคล้องซึ่งกันและกัน เช่น ถ้าเราพูดถึงคณะนักร้องประสานเสียงซึ่งเป็นองค์รวมแล้ว องค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ ขนาดของ วง จำนวนของสมาชิก ประเภทของคณะนักร้อง วัย - อายุของนักร้อง ความสามารถในการร้อง เป็นต้น
2. กระบวนการพัฒนาทักษะในด้านการร้องและการเพิ่มองค์ความรู้ด้านดนตรีเพื่อเสริมสมรรถนะการทำงานแบบกลุ่มและเพิ่มประสิทธิภาพของวงในการแข่งขันระดับนานาชาติ มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้ 1) วิเคราะห์ทักษะและองค์ความรู้ที่ต้องใช้ในการปรับพื้นฐาน 2) ประเมินความสามารถเบื้องต้นของคณะนักร้องทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล 3) จัดขั้นตอนการฝึกจากง่ายไปยาก จากทักษะพื้นฐานไปสู่ทักษะที่มีความสลับซับซ้อน 4) สาธิตและอธิบาย ให้เห็นลำดับขั้นตอนการปฏิบัติจากตัวอย่างที่ผู้สอนสาธิตให้ดู หรือจากภาพยนตร์ จากวีดิทัศน์ 5) การฝึกปฏิบัติจริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Boondee, W. (2021). Dcheco's teaching practice skills model. Retrieved on 2 November 2018 from http://www.kyetc.net/index-practical.html
Chamaram, S. (2016). Concepts models and policies of the public theory. Retrieved on 6 November 2021 from http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5803011195_5084_4912.pdf
Chamaram, S. (2018). Concepts, Models and public policy theory. Retrieved on 2 November 2018 from https://www.reru.ac.th/articles/images/vijai_19_09_ 59.pdf
Phrommanee, P., Iamsaat, S. & Krasang, P. (2017). The concept of creating and developing a model for use in to carry out public health work for public health person. Association of private higher education institutions of Thailand under the royal patronage of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Princess Maha Chakri Sirindhorn. 6, 2(July - December), pp. 128 - 135. [in Thai]
Somboon, W. (2004). Patterns and meanings of the holistic. Health systems research institute (HSRI) - Health systems research institute (HSRI). [in Thai]
Suwanklang, R. & Utsahajit, W. (2015). Developing an effective team model from an organization awarded the national quality award. Retrieved on 6 November 2021 from http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2557/b18540 7.pdf