พฤติกรรมความต้องการที่มีต่อผ้าไหมแบบกี่กระตุก และแนวทางการส่งเสริมผ้าไหมภูมิปัญญาท้องถิ่นในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล: กรณีศึกษาบ้านไทรงาม ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

บัญชา จันทราช

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อการเลือกซื้อผ้าไหมแบบกี่กระตุกตามภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสถานะภาพและพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อการเลือกซื้อผ้าไหมแบบกี่กระตุกตามภูมิปัญญาถิ่น ด้านเพศ รายได้และสถานภาพการศึกษาของผู้บริโภค และ เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาการผลิตผ้าไหมแบบกี่กระตุกในยุคเศรษฐกิจ ดิจิทัลในหมู่บ้านไทรงาม ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้บริโภคผ้าไหมแบบกี่กระตุกที่มาซื้อสินค้า  จำนวน 364 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ประกอบการทอผ้าไหมแบบกี่กระตุก จำนวนทั้งสิ้น 10 คน และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นจากกลุ่มตัวอย่างอื่นได้อยู่ที่ .867  สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-Test และ F-Test ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อการเลือกซื้อผ้าไหมแบบกี่กระตุกตามภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านไทรงาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ได้ดังนี้  ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อการผลิตผ้าไหมยุคดิจิทัล  ด้านการตัดสินใจซื้อผ้าไหม ด้านการช่วยส่งเสริมภูมิปัญญาและการดำรงรักษาภูมิปัญญาการผลิตผ้าไหม  ด้านความต้องการต่อผ้าไหมแบบกี่กระตุก  ด้านการถ่ายทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมแบบกี่กระตุก และด้านพฤติกรรมผู้บริโภค ตามลำดับ  ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มผู้ซื้อทอผ้าไหมท้องถิ่นแบบกี่กระตุก จำแนกตามเพศ อายุ และสถานภาพการศึกษา มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน สำหรับแนวทางในการส่งเสริมภูมิปัญญาการผลิตผ้าไหม  มีดังนี้  ตั้งราคาให้เหมาะสมกับต้นทุน ลดต้นทุนในการผลิต และการประชาสัมพันธ์จำหน่ายสินค้าในสังคมออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaiyotha, L. (2008). The wisdom of community silk weaving, Khok Chan sub-district. Uthumphon Phisai District, Si Sa Ket Province. Thesis M.A. Sisaket: Sisaket Rajabhat University. [in Thai]

Intharakerd, M. (2017). Conservation and continuation of Mudmee Sin Din Daeng silk weaving of Ban Hua community. Bridge, Phutthaisong District, Buriram Province. Journal of Business Review, 10(1), 141-143. [in Thai]

Jeewattana, S. et al. (2015). Development of a database system for hand-woven silk of community enterprises Buriram Province. Journal of Research and Development, 1(10), 59-67. [in Thai]

Levichan, R. (2008). Online Store Management System, Case Study, The 8th Thailand of Internet networks and websites. Thesis, Walailak University. [in Thai]

Loysungwong, C. (2016). Transferring knowledge of weaving of Thai Song Dam people, Don Khoi Sub-district, AmphoeKamphaeng Saen, Nakhon Pathom Province. Cultural resource management graduate school Silpakorn University. [in Thai]

Ngewsupha, A. et al. (2017). Guidelines for transferring local wisdom on silk weaving to the new generation of Ban Nong Khae silk weaving group Sakon Nakhon Province. Thesis. Development Strategy Sakon Nakhon Rajabhat University. [in Thai]

Pimros, S. (2012). The management of the Praewa silk business of the Praewa silk producer in Kham Muang district. Kalasin Province. Thesis. Rajamangala University of Technology Isan Kalasin Campus. [in Thai]

Poomchan, C. (2015). Development of e-commerce system with community participation. A case study of hand-woven cotton group, Sin Teen Jok cloth, Mae Chaem district, Chiang Mai province. Department of Business Computing Faculty of Management Science. Office of the National Research Council (NRCT). [in Thai]

Wasatdilok, T. (2003). The pattern of developing silk market and silk products in Buriram province into the system. Electronic commerce. Thesis M.A. Buriram: Buriram Rajabhat University. [in Thai]

Yoyaram, I. (2019). Development of information systems with digital technology to support and promote Aggressive sales marketing of hand-woven silk, Firecracker Sub-district Prakhon Chai District, Province Buri Ram through a social network system. In the office research report. National Research Council (NRCT). [in Thai]