แนวทางการพัฒนาการดูแลผู้ใช้บริการในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี

Main Article Content

สุกิจ อยู่ในธรรม
รุ้งนภา เฉยคล้าย
นิฤมน รัตนะรัต

บทคัดย่อ

            การศึกษาในครั้งนี้เป็นการติดตามโครงการนำร่องระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้แนวทางการติดตามและประเมิน CIPP Model ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการศึกษาดูงานสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง โดยเลือกกลุ่มเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน การบำบัดฟื้นฟูในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านกึ่งวิถีหญิง ซึ่งจากการศึกษาติดตามการประเมินผลบริบทหรือสภาพแวดล้อม พบว่าสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านกึ่งวิถีหญิงนั้นขาดบุคลากรเฉพาะทาง เช่น พยาบาลวิชาชีพ นักกิจกรรมบำบัด  นักกายภาพบำบัด นักสังคมสงเคราะห์ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลผู้ป่วย  ซึ่งจากการดำเนินโครงการอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่และบุคลากร  ได้ทำการประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมอบรมทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมอบรม ปรากฎผลการประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน ในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านกึ่งวิถีหญิง มีผู้เข้าร่วม 38 คน ผู้ตอบแบบประเมินมีจำนวน 35 คน คิดเป็น 92.10 % ปรากฏว่าผู้เข้าร่วมมีความรู้ดีขึ้น จำนวน 26 คน (74.28%) และจากการประเมินผลผลิตผู้ศึกษาถอดบทเรียนจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่  และการจัดทำคู่มือฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคมจิตใจผู้รับบริการโรคจิตเภทเรื้อรัง ในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านกึ่งวิถีหญิง  ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชได้อย่างเป็นระบบ  โดยจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่หลังจากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวแล้ว พบว่า ผู้ป่วยจิตเวชในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านกึ่งวิถีหญิง  มีอาการดีขึ้น เช่น การดำเนินกิจกรรมประจำวันได้ดีขึ้นกว่าเดิม  และเจ้าหน้าที่มีคู่มือในการดำเนินงานที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Department of Social Development and Welfare and Thammasat University. (2016). Lesson learned of implementation of standards for the provision of services for the homeless in the Homeless Protection Center. http://61.19.50.68/ dsdw/buzzfile/20160704160317-106.pdf

Domemongkol, P. (2019). Rights protection and access to justice of the destitute in the Protection Center for the Destitute. Journal of Social Administration, [Doctor of Philosophy thesis]. Bankok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Lengdee, P. (2021). The project to develop the capacity to exchange learning with a pair of networks to develop care for people with Mental health problems in Nonthaburi Protection Center for Helpless people. Research report. Bangkok: Health Promotion Foundation. [in Thai]

Naksrichand, P. (2015). Social welfare process to protection for the destitute due to the Destitute Protection ACT B.E.2557, [Master’s thesis]. Bankok: Thammasat University. [in Thai]

Onkerd, P. (2016). Proper social welfare direction for Homeless People. https://shorturl.asia/vbSsk

Thai Government Gazette. (2014). Protection of helpless persons ACT, B.E. 2557.

Thai Government Gazette.. (2016). Announcement of the homeless committee on prescribing criteria for the protection of the homeless.