ผลการใช้ชุดการสอนเพื่อฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับ แผนผังความคิด (Mind Mapping) วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

กรรภิรมย์ แก้ววัน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1)  เพื่อศึกษาประสิทธิภาพชุดการสอนเพื่อฝึกทักษะ


การอ่านจับใจความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือ รูปแบบ CIRC ร่วมกับ แผนผังความคิด


วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2)  ตามเกณฑ์ 75/75 


2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนกับหลังการใช้ชุดการสอนร่วมกับ แผนผังความคิด


3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้ชุดการสอน ร่วมกับ  แผนผังความคิด


4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอน ร่วมกับ แผนผังความคิด


กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/1  โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม  36 คน 


ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  ได้แก่ 1)  ชุดการสอนเพื่อฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบ CIRC ร่วมกับ แผนผังความคิด วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 ชุด 2)  แผนการจัดการเรียนรู้ 3)  แบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน 4)  แบบประเมินความพึงพอใจ  ผลการวิจัย สรุปได้ว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดการสอน มีประสิทธิภาพเท่ากับ  80.94/83.75  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  75/75  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยชุดการสอนเพื่อฝึกทักษะการอ่านจับใจความ มีค่าเท่ากับ 0.6929 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ  69.29 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วย ชุดการสอนเพื่อฝึกทักษะการอ่านจับใจความ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Fakkao, S. (2001). Student-centered learning management. Bangkok: Aimphan Press. [in Thai]

Important of English. (2016). Retrieved on 2 January 2016 from https://englishgang.com [in Thai]

Jiravarapong, B. (1987). Principle and theory of educational technology. Bangkok: Amorn Karnpim. [in Thai]

Khemmani, T. (2011). Science of teaching: Knowledge of efficient learning process management. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Kuanhavech, B. (1999). Educational innovation (4th ed.). Bangkok: Educational Technology Department Srinakharinwirot University. [in Thai]

National Institute of Educational Testing Service. (2020). Testing report. Retrieved on 30 April 2020 from http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx

Rangubtook, W. (1999). Student-centered planning (2nd ed.). Bangkok: L.T. Press. [in Thai]

Reading Comprehension Technique. (2016). Retrieved on 29 January 2016 from http://wutthiphongkhamnet [in Thai]

Ritcharoen, W. (2008). Researching for learning development: Classroom research. Bangkok: College of Teacher Education Phranakhon Rajabhat University. [in Thai]

Sariwat, L. (2014). Psychology for teacher. Bangkok: O. S. Printing. [in Thai]

Soontornrot, W. (2006). Innovations for learning. Curriculum and Instruction Faculty of Education Mahasarakham University. [in Thai]

Srisa-ard, B. (2002). Development teaching. Bangkok: Suweeriyasarn. [in Thai]

Srisa-ard, B. (2013). Statistics for Research (5th ed.). Bangkok: Suweeriyasarn. [in Thai]

Suthirat, C. (2009). 80 Innovations of student-centered learning management. Bangkok: Danex intercorparation. [in Thai]

Wolman, T. E. (1973). Education organizational leadership in elementary schools. New Jersey: Prentice – Hall.

Wongyai, W. (1982). Curriculum development and new teaching (3rd ed.). Bangkok: Thanate karnpim. [in Thai]