การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะ


การจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ 3) ประเมินรูปแบบ  กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาความต้องการ เป็นนักศึกษาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 4-5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 48 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม  มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 6 คน ครูพี่เลี้ยง 6 คน ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนารูปแบบ 7 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกประเด็นการสัมมนา การประเมินรูปแบบ ด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน และด้านความเป็นประโยชน์หลังทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 28 คน


ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.52, SD = 0.30) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ พบว่า รูปแบบมีโครงสร้างและองค์ประกอบของรูปแบบ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แนวคิดและหลักการ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ และส่วนที่ 3 กระบวนการพัฒนา มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมการ 2) การประเมินก่อนการพัฒนา 3) การพัฒนา


4) การประเมินหลังการพัฒนา ผลการประเมินรูปแบบด้านความเหมาะสม


ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.71, SD = 0.19,


gif.latex?\bar{x}= 4.63, SD = 0.21, และ gif.latex?\bar{x}= 4.55, SD = 0.47 ตามลำดับ)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Dechakup, P. & Kangkan, P. (2008). Teacher competency and teachers’ guidelines in changing society. Bangkok: Office of the Education Council. [in Thai]

Glatthorn, A. A. (1990). Supervisory leadership: Introduction to instructional supervision. Illinois: Scott, Foreman and Company.

Keeves, P. J. (1988). Educational Research Methodology and Measurement: An International Handbook. Oxford: England.

Khemmani, T. (2014). Science of teaching: Knowledge of efficient learning process management. (18th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Office of the Basic Education Commission. (2010). Teacher competency assessment manual. Bangkok: Office of the Basic Education Commission. [in Thai]

Office of the Education council. (2007). The development model for school teacher and administrators to reform school learning. (Research report). Bangkok:

Prikwarn Graphic. [in Thai]

The Joint Committee on Standards for Educational Evaluation. (2000). Standards for Evaluations of Educational Programs, Project and Material. New York: McGraw-

Hill.

Thongsrithong, C., Bhoomkhokrak.P. & Sakpakornkan, N. (2019). Development ofadministrative model for sufficiency schools under the Primary Educational

Service Area Office in Lower Northeastern Region. Dhonburi Rajabhat University Journal, 3(2), 60-70. [in Thai]