พีรพงศ์ เสนไสย: แนวทางสร้างสรรค์การแสดงแสง สี เสียงประกอบจินตภาพ

Main Article Content

จิระประภา โพธิเล

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการวิจัยเรื่อง พีรพงศ์ เสนไสย: แนวทางการออกแบบการแสดงแสง สี เสียงประกอบจินตภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางการออกแบบการแสดงแสง สี เสียงประกอบจินตภาพของ พีรพงศ์ เสนไสย ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ถึงปัจจุบัน งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจาก เอกสาร สิ่งพิมพ์ สื่อวีดีทัศน์ สื่อมัลติมีเดีย และการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการออกแบบการแสดงของ พีรพงศ์ เสนไสย มีลักษณะโดดเด่นแบ่งได้ 5 ประการ คือ 1. การสร้างบทการแสดง ซึ่งใช้ทั้งการประพันธ์บทขึ้นมาใหม่ และดัดแปลงจากเค้าโครงเรื่องเดิม ที่มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง 2. การสร้างรูปแบบการแสดง จะใช้เสียงตัวเองเสมอในการพากย์บรรยายบท มีการใช้ท่าทางการแสดงทั้งอนุรักษ์และสร้างสรรค์ และมีหลักการจัดวางพื้นที่การแสดงอย่างหลากหลาย 3. การสร้างดนตรีประกอบการแสดง เพื่อเสริมจินตภาพ มีการผสมผสานประเภท และเครื่องดนตรีหลายรูปแบบ 4. ฉากและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง มีทั้งการใช้ฉากเดิม และฉากที่สร้างใหม่ เน้นใช้งาน และสร้างสรรค์ 5. การออกแบบการแต่งกาย พบทั้งแบบวิถีจารีต แบบประยุกต์ และแบบสร้างสรรค์ที่ต่างจากของเดิม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Noiwat, P. (2016). Anu San o.so.tho. Retrieved on 17 April 2016 from www.osotho.com: http://osotho.blogspot.com/2016/09/blog-post_9.html [in Thai]

Phisutthirattananon, M. (2003). Sunthariyasat Bueangton. Songkhla: Thaksin University. [in Thai]

Sensai, P. (2004). Baek Prasopkan Laokhan Kan Sadaeng Saeng Siang. Mahasarskham: Mahasarakham University. [in Thai]

______ . (2003). Khomun Phuenthan Lakken Samrap Chat Kan Sadaeng Saeng Lae Siang. Bangkok: Tourism Authority of Thailand. [in Thai]