แนวทางการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เทคนิคการวิจัยแบบผสานวิธี คือ เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาภาคปกติของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 378 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าเอฟ และการสนทนากลุ่มจากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า
- กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การมีส่วนร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย การมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง ตามลำดับ
- กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยด้านเพศ อายุ การเรียนรายวิชาที่ส่งเสริมประชาธิปไตย และผลการเรียน ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง ด้านการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมการเมือง และด้านการมีส่วนร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปัจจัยด้านการเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมประชาธิปไตย และคณะ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- แนวทางการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ คือ 1) ควรสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมการเมือง โดยการจัดอบรมและจัดกิจกรรมที่จำลองจากสถานการณ์จริง 2) ควรให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารของมหาวิทยาลัยทุกระดับ และประเด็นสาธารณะด้านสังคมและการเมือง โดยมีเวทีการแสดงความคิดเห็นทั้งภายในมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย 3) ควรให้นักศึกษาเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร คณะ และมหาวิทยาลัย เพื่อรับทราบนโยบายและการบริหารของหน่วยงาน 4) ควรให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนการจัดกิจกรรมของสโมสรนักศึกษาคณะ องค์การบริหารนักศึกษา 5) ควรมีเครือข่ายความร่วมมือด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยกับหน่วยงานภายนอกทั้งภายในจังหวัดและระดับประเทศ 6) ควรมีรัฐสภาจำลอง เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ระบบรัฐสภา และการเมืองการปกครอง 7) ควรมีพรรคการเมืองของนักศึกษาที่มีความเข้มแข็งและสืบทอดการทำงานอย่างเป็นระบบในการเลือกตั้งผู้นำนักศึกษา 8) ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรควรส่งเสริมในการจัดกิจกรรม รวมทั้งนักศึกษาให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Chomchaturong, O. (2006). People's political participation in parliamentary election Bangkok, Prawet district. Department of Public Administration, Master of Arts General Administration College of Public Administration University. [in Thai]
Kulwong, K. (2018). Political participation of the people in the Nong Bo Subdistrict administrative organization, Na Kae District, Nakhon Phanom Province. Academic Journal Graduate School, Suan Dusit University, 14(3), pp. 109-125. [in Thai]
Kaewmorakul, P. (2018). Study on the culture of political participation of adolescents in a multicultural society: A case study of Thepha district, Songkhla province. Academic Journal Thonburi University. 12 (Special Edition), pp. 218-225. [in Thai]
King Prajadhipok's Institute. (2019). Contribution. Retrieved on 25 April 2019 from
http://wiki.kpi.ac.th/index.php
Klumkhum, N. & Ashuwatthanakul, C. (2018). Political culture
student democracy bachelor degree Mahidol University Salaya Campus.
Southern Technology Journal, 11(1), pp. 125-130. [in Thai]
Magstadt, Thomas M. (2003). Understanding politics: Ideas, institutions and
issues (6th ed.) Belmont: Wadsworth/Thomspson Learning.
Maneethorn, E. (2010). Political insight and regime political participation democracy of university students in the Eastern Seaboard Development Area. Journal of Politics, Administration and Law, 2(1), pp. 73-97. [in Thai]
Ministry of Education, Office of the Rajabhat Institute Council. (1999). Manual of student affairs of Rajabhat Institute. Bangkok: Office of the Rajabhat Institute Council Ministry of Education. [in Thai]
Montaphan, K. (2003). Political participation of the people in the municipality. Bang Si Mueang Subdistrict Nonthaburi province. Master of Arts Degree Political Science Department of Political Science and Public Theology, Kasetsart University. [in Thai]
Ngowcharoen,T. & Chansilpa, W. (2017). Democratic political culture of students of Sri MahaPhot School Prachinburi province. Journal of Political Science Periscope Kasetsart University, 4(1), pp. 133-146. [in Thai]
Phongsiri, M. & Phayomayon, P. (2016). Political participation of people in the area of Nonthaburi City Municipality. Academic Journal Graduate School Suan Dusit University, 12(3), pp. 112- 125. [in Thai]
Promkerd, P. (2014). Political culture and democracy development in rural Isan: A case study of people in Kham Bong village and Sa-Saen village, Nam Phong district, Khon Kaen province. Journal of Humanities and Social Sciences, 31(3), pp. 63-96. [in Thai]
Pungpanich, N., Wachang-ngoen, P. & Kerdruang, A. (2019). Political regime democracy of the people in Tak province. Academic Journal Pacific Institute of Management Science, 5(1), pp. 170-183. [in Thai]
Saekong, S. (2018). Participation of Yala Rajabhat University students in activities promoting democracy. Research Report of Faculty of Humanities and Social Sciences Yala Rajabhat University. [in Thai]
Sethavanich, U. (2010). Political participation among students of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Rajamangala University of Technology Thanyaburi. [in Thai]
Somkham, P. & Busbonk, P. (2017). Guidelines for enhancing democracy characteristics of high school students in Kosum Phisai district, Mahasarakham province. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University. (Special edition), pp. 9-17. [in Thai]
Sopanil, K. & Nuyot, G. (2019). Democratic political culture of students from Chaiyaphum Rajabhat University. Research Report of Faculty of Political Science, Chaiyaphum Rajabhat University. [in Thai]
Tangchuang, Y. (2006). Democratic political culture of students of Uttaradit Rajabhat University. Uttaradit: Uttaradit Rajabhat University. [in Thai]
Thongphab, N. (2006). Democratic political culture: A case study undergraduate students, Faculty of Political Science Thammasat University. Master of Arts in Political Science, Kasetsart University. [in Thai]
Wiset, S. (2017). Democratic citizenship of students, Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts and Science, Nakhon Phanom University. Nakhon Phanom: Faculty of Arts and Science Nakhon Phanom
University. [in Thai]