แนวทางส่งเสริมและพัฒนาอาชีพสู่ความยั่งยืนของชุมชนรอบเขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและบริบทของชุมชนรอบเขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาอาชีพของชุมชนรอบเขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมและพัฒนาอาชีพสู่ความยั่งยืนของชุมชนรอบเขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่าข้อมูลพื้นฐานและบริบทชุมชนรอบเขื่อนสิรินธร พบว่าส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 นับถือศาสนาพุทธ อาศัยอยู่บ้านตนเองมีอาชีพหลักทางการเกษตร ส่วนใหญ่เป็นหนี้สินในระบบ ไม่ได้เป็นกรรมการองค์กรในชุมชน ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มอาชีพ มีการใช้แหล่งน้ำอื่นๆ การจำหน่ายสินค้าผ่านพ่อค้าคนกลางสภาพปัญหาการพัฒนาอาชีพของชุมชนรอบเขื่อนสิรินธร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.47) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการตลาด ( = 2.71) ด้านอาชีพ ( = 2.65) ด้านการใช้แหล่งน้ำ( = 2.63) และด้านปัญหาทั่วไป ( = 1.90) เมื่อพิจารณาข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ปัญหาความคล่องตัวในระบบการตลาด ( = 2.77) ปัญหาความไม่มั่นคงในอาชีพ ( =2.74 ) ปัญหาการใช้แหล่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร ( =2.74 ) ปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด ( =2.03 ) และปัญหาการขาดแคลนทุน คิดเป็นร้อยละ 33.7ความต้องการพัฒนาอาชีพของชุมชนรอบเขื่อนสิรินธร โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 3.61) เมื่อพิจารณาข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือต้องการความช่วยเหลือในการสนับสนุนทุน ทักษะประกอบอาชีพ ( = 3.6) องค์ความรู้วิชาการในการพัฒนาอาชีพ ( = 3.64) กระบวนการปรับปรุง ขั้นตอนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ( = 3.64) โดยการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการผลิต ( = 3.55) และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ตลาด ( = 3.52) แนวทางส่งเสริมอาชีพของชุมชนรอบเขื่อนสิรินธร พบว่าหน่วยงานภาครัฐต้องเข้ามาส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการผลิต เงินทุน การจัดสรรพื้นที่ทางการผลิต ระบบกลไกทางการตลาด สนับสนุนให้เกิดร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน แนวทางการพัฒนาอาชีพของชุมชนรอบเขื่อนสิรินธร พบว่า การพัฒนาอาชีพของชุมชนรอบเขื่อน สิรินธร ควรเป็นแบบบูรณาการ เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน บริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ หน่วยงานทางวิชาการเป็นหลัก ในการพัฒนามาตรฐานผลิตเน้นความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เชื่อมโยงแหล่งทรัพยากรและฐานการผลิตเข้าหากัน กระตุ้นให้เกิดการรวมกลุ่ม โดยการน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Kumnu, N. (2005). Dynamics of indigenous wisdom on wild food: A case study of Ban Kaengsila in Tambon Ubonrat, Khonkaen province. Master of Arts, Khonkaen University. [in Thai]
Pilasombat, K. (2014). The way of life of the communities surrounding the dam following the construction of the Phimai dam in Nakorn Ratchasima Province. Ph. D. Thesis, Walailongkorn Rajabhat University. [in Thai]
Rueangmontri, P. (2005). The attitude of the locals living in the areas close to the Sirindhorn dam and the Pakmoon dam in Ubon Ratchathani Province. MA Thesis. Ubon Ratchathani Rajabhat University. [in Thai]
Sawastrakoon, P. (2008). Impacts from using land after the land allocation from the Siridhorn Dam Project in Nikom Domnoi community in Sirindhorn District. MA Thesis, Ubon Ratchathani Rajabhat University. [in Thai]
Sombat, N. (2000). Economic and social evaluation from the large water resource development project in northeastern Thailand: A case study of the Dom Noi Irrigation Project in Sirindhorn, Ubon Ratchathani province. MA Thesis, Mahidol Univesity. [in Thai]
Wasi, P. (1989). The community development and Thai crisis. Bangkok: Charoenwittaya Publishing. [in Thai]