การบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการเกษตร : กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สันติชัย เท่าสิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการเกษตร 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการเกษตร และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการเกษตร ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นผู้นำชุมชน และนักวิชาการ เลือกแบบเจาะจง จำนวน 17 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการเกษตร และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการเกษตรโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย แนวทางในการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการเกษตร ควรดำเนินการจัดตั้งธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบเปิด – ระบบปิด โดยภาครัฐสนับสนุนงบประมาณจัดตั้งโครงการในพื้นที่น้ำท่วมและแห้งแล้งในทุก ๆ ปี และส่งเสริมและผลักดันโครงการธนาคารน้ำใต้ดินเป็นแผนวาระแห่งชาติ และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ชุมชน โดยเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ทุกขั้นตอนเพื่อให้รู้สึกว่าต้องรับผิดชอบร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chareonwongsak, K. (2015). Water bank: A new alternative against drought. Retrieved on 1 August 2019 from https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635038 [in Thai]

Hangsawaisaya, T. (2012). Water management of water users' groups underMae Taeng irrigation project, Chiang Mai Province. Chaingmai University. A thesis for the degree master of Science (Agricutural Extension). Chaingmai: Chaingmai University. [in Thai]

Hokjaroen, A. (2007). Legal problem in water resources management: Case study for irrigation. A thesis for the degree master of Laws. Department of Private and Business law. Bangkok: Dhurakij Pundit University. [in Thai]

Kao Kham Subdistrict Administrative Organization. (2018). Groundwater bank. Ubon Ratchani: Kao Kham Subdistrict Administrative Organization. [in Thai]

Ketima, W. (2012). Guidelines for water management for agriculture in Mae Sai Water Shed Area, Dongmahawan Sub-district, Wiang Chiang Rung District, Chiang Rai Province. A thesis for the degree master of Master of Public Administration Program in Public Administration. Chaingmai : Chaingmai university. [in Thai]

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Maiklad, P. (2019). Thai water management solution. Retrieved on 15 September 2019 from http://www.cirrect.go.th [in Thai]

Phasukwong, S. (2000). Water management. Bangkok: Department of Water Resources. [in Thai]

Premruthai, W. (2008). Water resource management for agriculture of Ban Nong Pha Khao, Nam Dib Subdistrict, Pa Sang District, Lamphun Province.

Tathongduang, C. (2013). Regal problems relating water management of the stage in Thailand. A thesis for the degree master of Laws. Department of law. Pridi Banomyong Faculty of Laws. Bangkok: Dhurakij Pundit University. [in Thai]

Yangkhinok Subdistrict Administrative Organization. (2018). Local development plan 4 years (2018 - 2021). Ubon Ratchathani: Yangkhinok Subdistrict Administrative Organization. [in Thai]