การออกแบบภาพสื่อทางทัศน์ในพื้นที่จีโอพาร์คโคราช สะท้อนพลวัตภูมิศาสตร์บรรพกาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะภูมิศาสตร์บรรพกาลในพื้นที่จีโอพาร์คโคราช 2) ออกแบบภาพสื่อทางทัศน์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายให้สามารถรับรู้และเข้าใจพื้นที่จีโอพาร์คโคราชได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษารวบรวมแนวคิด ทฤษฎีภูมิศาสตร์บรรพกาลนำมาใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบภาพสื่อทางทัศน์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อรูปแบบภาพสื่อทางทัศน์ จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิศาสตร์บรรพกาล และแบบสอบถามความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง โดยดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์เนื้อหาประกอบภาพสื่อทางทัศน์ 2) หารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการออกแบบภาพสื่อทางทัศน์ 3) ผลการออกแบบภาพสื่อทางทัศน์ ผลการวิจัย ระยะที่ 1 เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน มีข้อมูลที่ซ้ำไปในทิศทางเดียวกัน พบว่า จีโอพาร์คโคราชเกิดขึ้นในช่วงเวลา 6 ยุคธรณีกาล โดยจำแนกเป็นข้อมูลสภาพภูมิศาสตร์และสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ได้ทั้งสิ้น 23 รายการ ระยะที่ 2 โดยใช้ค่าเฉลี่ยจากความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 170 คน พบว่า ช้างกอมโพทีเรียม เป็นตัวการ์ตูนดำเนินเรื่องที่มีความเหมาะสมมากที่สุด เท่ากับ 4.40 สัดส่วนแบบลดทอน 3 ส่วน เป็นสัดส่วนตัวการ์ตูนที่มีความเหมาะสมมากที่สุด เท่ากับ 4.32 เครื่องแต่งกายแบบไทยโคราชมีความเหมาะสมมากที่สุดสำหรับนำไปสวมใส่เข้ากับตัวการ์ตูน เท่ากับ 4.38
รู้หรือไม่ เป็นประโยคที่ชวนให้สนใจความรู้จีโอพาร์คโคราชได้ดีที่สุด เท่ากับ 4.17 และความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อองค์ประกอบภาพสื่อทางทัศน์ พบว่า มีความสอดคล้องกับทฤษฏีการออกแบบกราฟิกข้อมูลของอัลเบร์โต ไคโร (Alberto Cairo) และระยะที่ 3 สามารถจัดวางเนื้อหาและรูปภาพให้อยู่ในสัดส่วนขนาด 21 X 29.7 เซนติเมตร หรือเทียบเท่ากับมาตรฐานกระดาษ A4 สำหรับเผยแพร่ให้กับกลุ่มเป้าหมายสามารถนำไปใช้เรียนรู้ทำความเข้าใจได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Cairo, A. (2013). The functional art: An introduction to information graphics and
visualization. San Francisco: New Riders.
Chonglakmani, C. (2010). Sedimentology and paleoenvironment of the petrified-
wood bearing formation in the Khorat Basin. Nakhon Ratchasima:
Suranaree University of technology. [in Thai]
Hall, S. (1997). Representation: Cultural representations and signifying practices.
London: Sage in association with The Open University.
Jintasakul, P. (2018). Khorat Geopark Cuesta & Fossil Land. In UNESCO Global
Geopark & Sustatnable Tourism, 18 - 21 August 2018, Kantary Hotel
Nakhon Rachasima Province, P 1-33. [in Thai]
Krauss, J. (2012). “Infographics: more than words can say.” Learning & leading
with technology, 39(5), 10-14.
Meeusah, N. (2013). Effects of data set and hue on a content understanding of
infographic. Nakhon Nayok: Rajamangala University of Technology
Thanyaburi. [in Thai]
Miller, G. (1956). “The magical number seven, plus or minus two: some limits on
ours capacity for processing information.” Psychological Review. 63(2),
-97.
Payakmarerng, O. School Principal, Thachangratbumroong School. (2019, January
. Interview. [in Thai]
Prachachit, K. (2016). “The design and development of motion infographics for
presenting the legend of Sisaket.” Journal of the Way Human Society,
(1), 116-135. [in Thai]
Saiyot, L. (1996). Techniques for measuring learning results. Bangkok: Children's
Club Publishing. [in Thai]
Siriyuvasak, U. (1999). Social imagination in media lauguages. Bangkok:
Chulalongkorn University. [in Thai]
Yamane, T. (1970). Statistic: An introductory analysis. New York: Harper & Row.
Yamkasikorn, M. (2008). “How to use efficiency criterion in media research and
development: The difference between 90/90 standard and E1/E2.”
E- Journal of Education Studies Burapha University, 19(1), 1-15. [in
Thai]