อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ปรากฏจากเรื่องเล่า กลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ปรากฏจากเรื่องเล่าของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในจังหวัดเชียงราย โดยกำหนดเก็บข้อมูลเรื่องเล่ากลุ่มชาติพันธุ์อาข่าจาก 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านปางปูเลย หมู่บ้านแสนสุข และหมู่บ้านอาผ่าพัฒนา และคัดเลือกเรื่องเล่าที่มีการดำเนินเรื่อง โครงเรื่อง ตัวละคร และฉาก ซึ่งรวบรวมได้ทั้งหมด 39 เรื่อง วิเคราะห์หาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจากเนื้อหาที่ปรากฏ ผลการศึกษาปรากฏ มี 3 ลักษณะ คือ 1) อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับข้าวและสัตว์ได้แก่ การปลูกข้าวไร่และการเลี้ยงหมู ไก่ ปรากฏพบในเรื่องเล่ามากที่สุด 2) อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับสังคมและครอบครัวของชาวอาข่า พบอัตลักษณ์ทาวัฒนธรรมเกี่ยวกับสังคมและครอบครัวแบบพ่อแม่ลูก และแบบพี่กับน้อง และ 3) อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อ ได้แก่ความเชื่อเกี่ยวกับการกำเนิดธรรมชาติ และความเชื่อเกี่ยวกับสภาวะเหนือโลก แสดงให้เห็นว่าเนื้อหาของเรื่องเล่ายังคงสะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับความเชื่อ และมีการรักษาสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Association. [in Thai]
Fuengfusakul, A. (2003). Identity: Literature review and conceptual framework. Bangkok: National Research Council, sociology department, National Research Council of Thailand. [in Thai]
Fuengfusakul, A. (2013). Identity. Bangkok: National Research Council of Thailand. [in Thai]
Hongsuwan, P. (2007). Once upon a time: regard to legend and culture. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
Jansaeng, P. (2008). The continuation and conservation of Akha ethnic culture which have beneficial to Akha youth: A case study of Akha youth in the New Ahyo Village, Mae Salong Nai, Mae Fah Luang,
Chiang Rai. Master of Arts, Chiang Rai Rajabhat University. [in Thai]
Koset, S. (Phraya Anuman Rajadhon). (1981). An introduction to culture (7th ed.). Bangkok: The Royal Institute of Thailand. [in Thai]
Leepreecha, P. (2003). Relatives identity of the Mong ethnic gruop among civilization. Bangkok: Identity, ethnicity and Marginality, Pinkaew Lueng-Aramsri (Editor). Princess Maha Chakri Sirindhorn
Anthropology Centre, 203-252. [in Thai]
Panyakon, U. (2004). The presentation of the educational model to succeed Akha culture. Doctor of Philosophy Program (Development Education), Chulalongkorn University. [in Thai]
Pongsapit, A. (1998). Culture, religious and ethnicity, the analysis of Thai society by anthropology principles. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
Satsa-nguan, N. (1995). Cultural anthropology principles. Bangkok: Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Political Science, Thammasapa Press. [in Thai]
Sitthichodok, G. (2013). Akha, worship, belief and esthetic. Chiang Mai: The Thailand Research Fund, Regional Office. [in Thai]
Thandee, D. (2003). Society and culture. Unit 1 Civic duty, culture and living the life in society. Bangkok: Mathayom 4-6 textbook, Aksorn charoentat. [in Thai]