การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมมวยไทย สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พินิจ นิ่มปรางค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการจัดกิจกรรมมวยไทยสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อสร้างรูปแบบ การบริหารการจัดกิจกรรมมวยไทยสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมมวยไทยสำหรับสถานศึกษา  ขั้นพื้นฐานในจังหวัดสุรินทร์ ผู้ให้ข้อมูลมี 5 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 11 คน คือ อาจารย์สถาบันอุดมศึกษา 2 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน ครูสอนมวยไทยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 คน ในจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุรินทร์ และศึกษานิเทศก์ 2 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความรู้ด้านมวยไทยในจังหวัดสุรินทร์3 คน ศึกษานิเทศก์ 3 คน และครูสอนมวยไทยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ผู้บริหารสถานศึกษา 105 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1, 2, 3 และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ซึ่งได้มาโดยใช้ตารางเครซี่มอร์แกน บุคลากร 90 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ และครูสอนมวยไทยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต   1, 2, 3 และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และผู้ทรงคุณวุฒิ 11 คน คือ อาจารย์สถาบันอุดมศึกษา 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน ครูสอนมวยไทย 5 คน และศึกษานิเทศก์ 2 คน ในจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุรินทร์ โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .98 แบบประเมินรูปแบบ และแบบประเมินยืนยันรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพการบริหารการจัดกิจกรรมมวยไทยสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า มี 6 ด้าน คือ  (1) ด้านนโยบาย พบว่า มีความไม่ชัดเจนไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ (2) ด้านหลักสูตรมวยไทยสำหรับสถานศึกษา พบว่า เนื้อหารายวิชายังไม่ชัดเจนแต่ละช่วงชั้น (3) ด้านครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า ขาดความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการจัดกิจกรรม (4) ด้านผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนขาดความสนใจที่จะเรียนมวยไทยเนื่องจากกลัวความรุนแรงกลัวต้องขึ้นชกบนเวที (5) ด้านงบประมาณ พบว่า ขาดงบประมาณการจัดเตรียมสถานที่ และอุปกรณ์ฝึกทักษะ และ (6) ด้านแหล่งเรียนรู้ พบว่า สถานศึกษาให้ความสำคัญน้อยมากในการศึกษาแหล่งเรียนรู้มวยไทยนอกสถานศึกษา 2) ผลการศึกษาการสร้างรูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมมวยไทยสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสุรินทร์ที่พัฒนาขึ้น พบว่า  มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ด้าน คือ (1) ด้านการวางแผน (2) ด้านการปฏิบัติตามแผน (3) ด้านการตรวจสอบ (4) ด้านการพัฒนา และ (5) ด้านการสะท้อนผลและปรับปรุง และ 3) ผลการศึกษาการประเมินรูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมมวยไทยสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสุรินทร์ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการศึกษาการประเมินยืนยันรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มี 5 ด้าน มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ 1) ด้านการวางแผน มีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้ (1) จัดทำแผนปฏิบัติการ (2) จัดทำแผนพัฒนา และ (3) กำหนดวันนิเทศ กำกับ ติดตาม  2) ด้านการปฏิบัติตามแผน มีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้ (1) กำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จ (2) การปรับปรุงระหว่างดำเนินการ และ (3) สรุปผลการดำเนินการ 3) ด้านการตรวจสอบ มีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้ (1) ติดตามตรวจสอบ และ (2) จัดทำรายงานเสนอต้นสังกัด 4) ด้านการพัฒนา มีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้ (1) ส่งเสริมเพื่อการออกำลังกาย (2) ส่งเสริมจัดทำหลักสูตรมวยไทย และ (3) สร้างเครือข่ายศูนย์มวยไทยระดับท้องถิ่น และ 5) ด้านการสะท้อนผลและปรับปรุงมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้ (1) การประเมินทักษะมวยไทยพื้นฐานเป็นระยะ และ (2) ตรวจสอบสะท้อนผลการจัดกิจกรรมทุกขั้นตอน ซึ่งสถานศึกษาสามารถนำไปใช้จริงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Assawaphum, S. (2017). A model on integration the internal quality assurance and administration of medium-size basic education schools. Educational Administration Program, Faculty of Education, Ubon
Ratchathani Rajabhat University. Ubongit Offset Printing. [in Thai]

Bureau of Academic and Educational Standards. (2008). Basic education core curriculum 2008 (B.E. 2551). Bangkok: Chumum Sahakon KanKaset, Ltd. [in Thai]

Chindasri, C. (2017, December 22). Director Tangjai Wittayakom, Office of Secondary Educational Service Area 33. Interview. [in Thai]

Kaewcharatwilai, T. (2011). Development of Muaythai courses at the lower secondary education level based on the basic education core
curriculum 2008 (B.E. 2551). Thesis, Doctor of Arts of Muaythai Studies, Chom Bueng: Graduate School, Moo Ban Chom Bueng Rajabhat University. [in Thai]

Khamphuy, D. (2017, December 8). Specially Skilled Educational Supervisor, Office of Secondary Educational Service Area 33. Interview. [in Thai]

Khodsombat, W. (2015). Development of a model on management of professional of Muaythai camps. Thesis, Doctor of Arts, of Muaythai Studies, Chom Bueng: Graduate School, Moo Ban
Chom Bueng Rajabhat University. [in Thai]

Kohtbantau, S. (2017, December 17). Permanent Lecturer, Nakhon Ratchasima College. Interview. [in Thai]

Kristen, E. (2015). Physical activity participation as a source of meaning and empowerment: A qualitative exploration of experiences of fitness boxing participant. Master of Science, Miami
University, Exercise and Health Studies.

Office of the Boxing Sports Commission, Professional Sports and Boxing. (2010). The strategic plan for developing Thai sports toward excellence B.E.
2553 - 2559, 2010: 1). Bangkok: Ministry of Tourism and Sports. [in Thai]

Office of the Permanent Secretary for Education. (2017). Education development plan of ministry of education (vol. 12), B.E. (2560 - 2564). Bangkok: Phrik Wan Graphic, Ltd. [in Thai]

Office of the Secretary-General, Educational, Council, Ministry of Education. (2017). National education plan, B.E. 2560 - 2579. Bangkok: Phrik Wan Graphic, Ltd. [in Thai]

Sararattana, W. (2012). Concepts, theories and issues for educational administration (8thed). Bangkok: Thip Wisut. [in Thai]

Seangsawang, P. (2017, December 14). Permanent Staff, Maha Sarakham University. Interview. [in Thai]

Sports Authority of Thailand. (1999). Muaythai art B.E. 2542 (amendment vol. 7). Bangkok: Office of the Sports Committee of Thailand. [in Thai]

Strotmeyer, (2014). Epidemiology of muaythai fight-related injuries (Order No. 3648106). Dissertations & Theses Global.

Supingkhalad, W. (2017, December 9). Specialized educational supervisor, Surin primary educational service area office 1. Interview. [in Thai]

Watayotha, C. (2017, December 22). Muaythai Teacher, Khon Kaen. Interview. [in Thai]

Wongpitisak, A. (2017, December 22). Muaythai Teacher, Nakhon Ratchasima. Interview. [in Thai]