นโยบายการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของนโยบายการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ 3) เพื่อสร้างแนวนโยบายการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ และ 4) เพื่อเสนอแนะแนวนโยบายการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งทางการและแบบไม่เป็นทางการ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร นักวิชาการ จำนวน 60 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหานโยบายข้าวหอมมะลิในพื้นที่เกิดจากเกษตรกรขาดความรู้ด้านการตลาดเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการทำนาและขาดพันธุ์ข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อนโยบายข้าวหอมมะลิคือ ราคาตลาดข้าวหอมของประเทศ กระบวนการผลิตข้าวและกระบวนการจำหน่าย 3) แนวทางการสร้างนโยบายการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิคือ มีกระบวนการจัดการส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรให้ปลูกข้าวตามกลุ่มพันธุ์ มีกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรผลิตข้าวที่มีคุณภาพเพื่อได้ผลผลิตที่มากขึ้นแต่ใช้งบประมาณที่น้อยลง มีการกำหนดมาตรฐานในการควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพ กำกับควบคุมดูแลการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร มีการนำกระบวนการวัดผลตามมาตรฐานเกษตรกรสู่ความยั่งยืน มาใช้ในพื้นที่และมีการรวมกลุ่มเกษตกรในลักษณะนาแปลงใหญ่เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายต้นทุนการผลิตของเกษตรกรลงผ่านระบบการจัดการ “Smart Farmer”
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Kenaphoom, S. (2016). The concept of strategy based on survey research administration , Public
Administration Concepts and Theories. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]
Klaydand, V. (2006). The organic farming. Government Policies Secretariat of the Council. Basic information of
Representatives. Secretariat of the House of Representatives, Academic Bureau Service Group2. [in Thai]
Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2000). Correct and suitable rice
cultivation. Bangkok [in Thai]
__________ . (2015). The compaign encourages farmers to produce oranic fertilizer for use in field. Sustainable
Agriculture Foundation (Thailand).pp193-194. [in Thai]