การวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การไปทัศนศึกษาในแหล่งเรียนรู้ของครูอนุบาล ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1

Main Article Content

จินตนา สุ่มมาตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การไปทัศนศึกษาในแหล่งเรียนรู้ของครูอนุบาล ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการเตรียมการจัดการเรียนรู้ และด้านการศึกษาในแหล่งเรียนรู้ ตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่า ร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา


               ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การไปทัศนศึกษาในแหล่งเรียนรู้ของครูอนุบาล ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 มีดังนี้ 1) ด้านการเตรียมการจัดการเรียนรู้ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการกำหนดจุดมุ่งหมายในการไปทัศนศึกษา พบว่า ครูมีการกำหนดแหล่งเรียนรู้และมีการสำรวจแหล่งเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 81.58 ด้านการวางแผนการจัดกิจกรรม พบว่า ครูมีการออกแบบกิจกรรม มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 73.68 ด้านการประสานงานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้อง พบว่า ครูมีการเตรียมตัวเด็ก มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 89.47 2) ด้านการศึกษาในแหล่งเรียนรู้ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการเดินทางไปแหล่งเรียนรู้ พบว่า ครูมีการแนะนำแหล่งเรียนรู้ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.43 ด้านการจัดกิจกรรมในแหล่งเรียนรู้ พบว่า ครูมีการอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 68.84 ด้านการประเมินความรู้ พบว่า ครูมี การให้เด็กนำเสนอความรู้ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 88.16

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amornviwat, S. (2001). Learning process from learning resources in community and nature. Bangkok: Wattanapanich Co., Ltd. [in Thai]

Behrendt, M. & Franklin, T. (2014). A review of research on school field trips and their value in education. 9:235-245; doi: 10.12973/ijese.2014.213a

Department of Education, Educational supervisor Unit. (2001). Development and use of learning resources in schools and localities for learning process management. Bangkok: Religious Printing. [in Thai]

Government Gazette. (2018). National Education Act (No.3) 2010. Retrieved on 4 Marc 2018 from http:22e.www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/index2index.htm [in Thai]

Khammanee, T. (2017). 14 Teaching Methods for Professional Teachers (13th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing. [in Thai]

Kosum, S. & Khamwajanang, D. (2002). Learning resources for learning reform and school curriculum. Bangkok: Methilips. [in Thai]

Likitwattanaset, N. (2001). "Learning sources in schools created for children. Not created for anyone ". Academic Journals, 4(12), 26-37. [in Thai]

Ministry of Education. (2017). Early childhood education curriculum 2017. Bangkok: Khurusapha Publishing. [in Thai]

Mukham, O. & Mukham, S. (2001). Child Centred: Storyline Method: Child Centred: Storyline Method: Integrating Learning curriculum with focus on learners. Bangkok: 8th edition of the Teachers Council of Thailand Press, Ladprao. [in Thai]

Netwong, T. (2012). Teaching by field trips that affect awareness of Thai culture and academic achievement of student information technology program Suandusitrajabhat University. National Academic Conference, Kasetsart University 9th kamphaengsaen Campus (Page 1582-1590). Pathumthani: Thammasat University. [in Thai]

Office of Samutprakan primary Educational Service Area Office 1. (2018). Form showing the power and workload of the school, academic year 2018, Office of Samutprakan primary educational service area 1, DMC Information as of 10 June 2018. Unpublished documents, Samutprakan primary educational service area office 1, Samutprakan Province. [in Thai]

Office of the National Economic and Social Development Board. (2016). National Economic and Social Development Plan (12th ed.). 2017-2021. Bangkok: Office of the Prime Minister. [in Thai]

Phongtong, T. (2016). Parents' participation in early childhood management of Schools in Amphoe Mueang Nang Cat under the Office of Chanthaburi Primary Educational Service Area 1. Educational Administration Faculty of Education Burapa University. [in Thai]

Punyarit, W. (2004). Preliminary data set organizing experiences for preschool children unit 5. Nonthaburi: Sukhothaithammathirat University. [in Thai]

Suwannasee, K. (2007). Study of conditions and problems of using learning resources for biology teaching in high school, in Vientiane Capital Lao People's Democratic Republic. Faculty of Education, Chulalongkorn University. [in Thai]

Tangkhunanan, P. (2015). Classroom management and learning resources (4th ed.). Bangkok: Min Service Supply. [in Thai]

The Secretariat of the Council of Education (2007). Learning management from learning sources. Bangkok: Assembly of Agricultural Cooperatives of Thailand Limited. [in Thai]