แนวทางการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาในการบริหารจัดการของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย และแนวทางการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกกลุ่มเพาะเห็ดหมู่ที่ 5 บ้านโพธิ์ชัย โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากกลุ่มเพาะเห็ดหมู่ที่ 5 บ้านโพธิ์ชัย จำนวน 30 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสนทนากลุ่ม การสังเกต และการสัมภาษณ์
ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย พบว่า บ้านโพธิ์ชัยมีการประกอบอาชีพหลักคือ ทำนา สำหรับอัตราค่าจ้างแรงงานในหมู่บ้านวันละ 150 - 200 บาท และมีรายได้เฉลี่ย 46,220 บาท/คน/ปี สำหรับกลุ่มอาชีพและกลุ่มอื่น ๆ ในการพัฒนาตนเองที่มีในชุมชน มีทั้งสิ้นจำนวน 13 กลุ่ม 2) สภาพปัจจุบันปัญหาในการบริหารจัดการของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย สำหรับปัญหาในการบริหารจัดการกลุ่ม แบ่งเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 2.1) ด้านการบริหารงาน สรุปได้ว่าในการดำเนินการของกลุ่มมีการกำหนดโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยการบริหารจัดการกลุ่มในรูปแบบของคณะกรรมการ แต่ยังไม่มีการกำหนดกฎ ระเบียบ และกติกาในการดำเนินงานร่วมกัน และ 2.2) ด้านการเงิน สรุปได้ว่า กลุ่มมีการนำเงินส่วนที่เป็นเงินออมปล่อยเงินกู้ให้กับสมาชิกกลุ่ม แต่ปัญหาที่พบคือ สมาชิกกลุ่มไม่สามารถนำเงินมาคืนให้กับกลุ่มได้ ส่งผลให้กลุ่มไม่มีเงินหมุนเวียนในการดำเนินงานต่อต้องหยุดไปเป็นบางเวลา และ 3) แนวทางการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย โดยสมาชิกกลุ่มได้มีค้นหาแนวทางการบริหารจัดการของกลุ่ม ทำให้การดำเนินงานมีแนวปฏิบัติ 9 ประเด็น ที่ทำให้ทางกลุ่มมีความสำเร็จในการดำเนินงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Chedeng, H. and Choosuk, C. (2015). Guidelines for Developing Women’s Chilli Paste Group Of Bannode Tambon
Administration Organisation, Saba Yoi District, Songkhla Province. Proceedings of the 6th Hatyai National
Conference. Hatyai, Thailand. 356-367. On 26th June 2015. Songkhla : Hatyai University. [in Thai]
Chomraka, I. (2011). A communities enterprises marketing network management model for increasing the
quality of commercial competition in Uttaradit Province. Area Based Development Research Journal, 3(5) : 39
- 51. Bangkok : Thailand Science Research and Innovation. [in Thai]
Chandaeng, W. (2012). The development for strengthened community management corresponding to
sufficiency economy in the upper central provinces of Thailand. Thesis, Ph.D. (Public Administration). Pathum
Thani: College of Management Innovation. Valaya Alongkorn Rajabhat University under Royal Patronage. [in
Thai]
Kenaphoom, S. (2016). The community business management model : case study of the cages fish farming
groups and the farming fish cooperative, Kosumphisai district, Mahasarakham province. VRU Research and
Development Journal Humanities and Social Science. 11(1) : 35 - 43. [in Thai]
Mongsamak, P. (2013). The Success Managerial Model for Herbal Products of the Community Enterprise Network
Group at Nakhonchaiburin Provincial Group. Journal of the Association of Researchers, 18(3): 115-123. [in
Thai]
Nilwan, D., et al. (2010). The knowledge management for developing community business based-on concept of
sufficiency economy of Ban-Dokdang Sewing group, Sa-ngaban Sub-District, Doi Saked, Chiangmai
(Research Report). Chiangmai : Chiangmai Rajabhat University. [in Thai]
Promsaka Na Sakolnakorn, T. and Sungkharat, U. (2014). Development guidelines for small and micro
community enterprises in Songkhla Lake Basin. Journal of Humanities and Social Sciences, 7(1) : 97 - 122. [in
Thai]
Sungraksa, N. and Unaromlert, T. (2009). Good Effects from Application of Sufficiency Economic Philosophy in the
Learning Process and Knowledge Management for Sustainable Development of Community Enterprise :
Case Study of Ratchaburi Province (Research Report). Bangkok : National Research Council of Thailand. [in
Thai]
Thamma, K. (2014). Guidelines for occupation group development : A case study of occupation group adaptation
of reed, Baan Wa Village, Baan Wa Sub-district, Muaeng Khon kaen district, Khon kaen Province. Proceedings
of the National and international academic conferences 4th Sustainable Development. June 11-13, 2014.
Khonkaen : Khonkaen University. [in Thai]
Thnogsri, N. (2016). The management models of small and micro community enterprise of silks product groups
in Buriram Province. Rommayasan Journal, Faculty of Humanities and Social Sciences, Buriram Rajabhat
University, 14(1) : 215 - 228. [in Thai]
Wongwirach, K. (2008). Management model for farmers in the cultivation of organic vegetables Ban Jum, Yang
Khok Sub-district, Hang Chat District, Lampang Province (Research Report). Bangkok : Thailand Science
Research and Innovation. [in Thai]