แนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนเชิงพุทธบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนเชิงพุทธบูรณาการ” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการอนุรักษ์ป่าไม้ตามศาสตร์พระราชาและสภาพปัญหาป่าชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอบ้านกรวดและอำเภอประโคนชัยจังหวัดบุรีรัมย์2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ป่าไม้ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า
แนวคิดการอนุรักษ์ป่าไม้ตามศาสตร์พระราชาและสภาพปัญหาป่าชุมชนในเขตอำเภอบ้านกรวด อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีการนำศาสตร์พระราชาเกี่ยวกับอนุรักษ์ป่าไม้ การบริหารจัดการน้ำมาเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ป่า สภาพปัญหามีการบุกรุกเพื่อที่ทำกินการหาของป่าและทำไม้เพื่อการค้าซึ่งมีการประนีประนอมอยู่บนพื้นฐานข้อตกลงของคณะกรรมการชุมชน
หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ป่าไม้ ได้แก่ ไตรสิกขา ศีล 5 และหิริโอตตัปปะโดย ไตรสิกขา เป็นหลักการเชิงโครงสร้างให้มีการวางกฎกติกา วางแผนและมีปัญญากำกับให้ชุมชนปฏิบัติตามอย่างพอเหมาะ ศีล 5 เป็นหลักประกันชุมชนด้านชีวิต ทรัพย์สินและความซื่อสัตย์ต่อกันวางกรอบ ข้อตกลงร่วมกันไม่ให้เกิดปัญหาในการบุกรุกป่าและสร้างจิตสำนึกด้วยหิริโอตตัปปะ ไม่ฝ่าฝืนข้อห้ามของชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของชุมชนในการใช้ทรัพยากรป่าไม้ร่วมกัน
แนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนเชิงพุทธบูรณาการ มี 3 แนวทาง ดังนี้ (1) แนวทางอนุรักษ์ตามหลักไตรสิกขา โดยการนำศีล มาเป็นกรอบวางกฎระเบียบเพื่อให้ชุมชนได้ปฏิบัติอย่างพอเหมาะ นำสมาธิมาเสริมความมุ่งมั่น จดจ่อในการแก้ปัญหาและรักษาสภาพของป่าชุมชน นำปัญญามาเป็นหลักการคิดหาเหตุและสรุปผลของการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม (2) แนวทางอนุรักษ์ตามหลักศีล 5 โดยการวางกฎข้อตกลงของชุมชนไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักของป่า วางกฎกติกาในการใช้ป่าร่วมกันรักษาดูแลป่า ประสานแนวคิดจากหลักพุทธธรรมกับวิถีชุมชน ไม่กล่าวเท็จ ไม่รับจ้างตัดไม้ ไม่ตัดไม้มาหมักดองและหมั่นตรวจตราดูแลรักษาป่าชุมชน ปลูกป่าทดแทนเพื่อความยั่งยืนและ (3) แนวทางอนุรักษ์ตามหลักหิริโอตตัปปะ ด้วยการสร้างความตระหนักรู้ด้านความละอาย การห้ามจิตไม่ฝ่าฝืน ไม่ทำลายและละเว้นการกระทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ป่าอย่างยั่งยืน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tipitaka Version of MahaChulalongkornRatchawitthayalai. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.[ in Thai]
Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (1994). Thai people and forest. Bangkok: Thailand. [in Thai]
Royal speech to the Minister of Agriculture and Cooperatives. (online). Retrieved on 8 June 2018 from https://www.manpattanalibrary.com/ [in Thai]
Royal speech to Forestry Officer. (online). Retrieved on 8 June 2018 from https://www.manpattanalibrary.com/ [ in Thai]