การประเมินคุณค่าของทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

Titapa Bumrungsilp

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินคุณค่าของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1) วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ บุคคลในชุมชนในห้าพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ ลาว ส่วย เขมร และเยอ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัด            ศรีสะเกษ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางสุ่มตัวอย่างของยามาเน่ ได้จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นปราชญ์หรือผู้รู้ในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ โดยทำการเลือกแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้น 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า หลักเกณฑ์ที่สำคัญเพื่อการประเมินคุณค่าการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย 5 หลักเกณฑ์ คือ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านสุนทรียศาสตร์ ด้านสังคม ด้านการเรียนรู้ และด้านเศรษฐกิจชุมชน และหลักเกณฑ์ด้านสังคมมีความสำคัญมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านสุนทรียศาสตร์ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านการศึกษา และด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ และเมื่อแยกการประเมินคุณค่าในแต่ละด้านของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่า ในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ได้ให้ความสำคัญในคุณค่าของวัฒนธรรมของตนในแต่ละด้านแตกต่างกัน ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์เยอ ให้ความสำคัญในคุณค่าด้านชุมชนมากที่สุด กลุ่มชาติพันธุ์เขมรได้ให้ความสำคัญในคุณค่าด้านการศึกษามากที่สุด กลุ่มชาติพันธุ์ส่วยได้ให้ความสำคัญในคุณค่าด้านสุนทรียศาสตร์มากที่สุด และ กลุ่มชาติพันธุ์ลาวให้ความสำคัญในคุณค่าด้านสังคมมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2557). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ฐานบัณฑิต.
ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 33 (2): 331-336.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์, พิเชฐ สายพันธุ์, อรอุมา เตพละกุล และธีระ สินเดชารักษ์. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Creative Tourism Model. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
McKercher, B. and DuCros, H. (2002). Cultural Tourism: The Partnership Between Tourism And Cultural Heritage Management. London: Routledge.
Richards, G. and Raymond, C. (2000). Creative Tourism. ATLAS: News. 23 : 16-20.