การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม บ้านไชยสอ ตำบลไชยสอ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านไชยสอ 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 3) ศึกษาผลการดำเนินงานตามรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามรูปแบบ การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของชุมชนบ้านไชยสอ ตำบลไชยสอ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้สูงอายุ รวม 79 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินตามสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ และ
กระบวนการประชุมปฏิบัติการเชิงสร้างสรรค์ด้วยเทคนิค A-I-C วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณาและข้อมูลคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา กระบวนการดำเนินงาน ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ สภาพการดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2) วิเคราะห์ปัญหาและสังเคราะห์รูปแบบ 3) ทำแผนปฏิบัติการ 4) ปฏิบัติตามแผน 5) นิเทศสอบถามผลการดำเนินงานตามโครงการ 6) ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง 7) ประชุมกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์มีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อยู่ในระดับดีมาก 2) การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มี 8 กิจกรรม คือ (1) สร้างเครือข่ายและคณะทำงาน (2) ส่งเสริมการออกกำลังกาย (3) ให้ข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์โครงการ (4) ส่งเสริมและพัฒนาด้านจิตใจ (5) ส่งเสริมด้านอาชีพและรายได้ (6) ให้ความรู้และตรวจคัดกรองสุขภาพในวันจัดกิจกรรมชมรมและวันจ่ายเบี้ยยังชีพ (7) การติดต่อประสานงานของเครือข่าย (8) จัดทำข้อตกลงร่วมกันในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 3) ปัจจัยที่ทำให้การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุประสบผลสำเร็จ เกิดจาก (1) มีการจัดตั้งเครือข่ายคณะทำงานเพื่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (2) การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชน (3) การติดต่อประสานงานของเครือข่าย (4) มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี 4) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
elderly district, Lampang Province. Journal of Health Promotion and
Environmental Health, 37(1), pp. 89-98. [in Thai]
Booncharoen, P. (2011). Health promotion model of the elderly by the participation
of Lumb Puk subdistrict Community, district, Surin Province. The Degree of
Master of Public Health. Master Thesis Health Systems Management.
Mahasarakram University. [in Thai]
Buarapa, B. (2015). The health promotion model of the elderly people by community,
Sangko subdistrict, Kutchap district, Udonthani Province. The Degree of
Master of Public Health. Master Thesis Health Systems Management.
Mahasarakram University. [in Thai]
Chaior Subdistrict Administration Organization. (2015). Basic social development of
Chaior subdistrict, Chumphae district. Khon Kaen Province. [in Thai]
Department of Health, Ministry of Public Health. (2011). Operation manual for
volunteers of health to care for the elderly at home book (2nd ed.).
Nonthaburi: Office of the Permanent Secretary for Public Health. [in Thai]
Health Promotion Hospital Chaisor Subdistrict. (2017). Annual screening of elderly
2017. Chumphae district, Khon Kaen Province. [in Thai]
Office of the National Economic and Social Development Board. (2017). Elderly
statistics of the 2011. Bangkok Economic and social data. [in Thai]
Papiwdee, W. (2013). The development of a health promotion model among the
elderly by Nongsou village Community Participation in Srisuk subdistrict,
Songrong district, Surin Provice. Master Degree of Public Health. Master
Thesis Health Systems Management. Mahasarakram University. [in Thai]