การพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนด้านการจัดทำบทเรียน โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผ่านกิจกรรมพัฒนา 9 ขั้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 (ชัยภูมิ)

Main Article Content

วานิช ประเสริฐพร
ไชยวัฒน์ ชุ่มนาเสียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาศักยภาพครูผู้สอนด้านการจัดทำบทเรียน โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผ่านกิจกรรมพัฒนา 9 ขั้น 2) นิเทศ ติดตามการนำบทเรียนไปใช้กับนักเรียนของครูผู้สอน และ        3) ประเมินประสิทธิผลของกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผ่านกิจกรรมพัฒนา 9 ขั้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วยการดำเนินการ     3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน ด้านการจัดทำบทเรียน โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านกิจกรรมพัฒนา 9 ขั้น กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจากครูผู้สอนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพครู สังกัด    สหวิทยาเขตพญาแล และสหวิทยาเขตเมืองสี่มุม ปีการศึกษา 2560 ซึ่งมีสถานศึกษา 


สหวิทยาเขตละ 5 โรงเรียน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 โดยเป็นครูผู้สอนใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ประกอบด้วย ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ รวม 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ขั้นตอนการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน 9 ขั้น ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยใช้ดัชนีค่าความสอดคล้อง (IOC) มีค่าความสอดคล้อง 0.91 และชุดฝึกปฏิบัติการจัดทำบทเรียนของครูผู้สอน ระยะที่ 2 เป็นการนิเทศ ติดตามการนำบทเรียนไปใช้กับนักเรียนของครูผู้สอน ประชากรคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์และครูที่เกี่ยวข้อง รวม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินประสิทธิผลการจัดทำบทเรียนของครูผู้สอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ระยะที่ 3 เป็นการประเมินประสิทธิผลของกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผ่านกิจกรรมพัฒนา 9 ขั้น กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก รวม 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินประสิทธิผลการจัดทำบทเรียนของครูผู้สอน และแบบประเมินประสิทธิผลการใช้ขั้นตอนกิจกรรมพัฒนา 9 ขั้นของครูผู้สอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการแปลผลตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 4 ระดับ ได้แก่ ระดับมาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน ด้านการจัดทำบทเรียน พบว่า ครูที่เข้ารับการพัฒนาศักยภาพได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการจัดทำบทเรียนที่เน้นการเสริมสร้างกระบวนการคิดขั้นสูง 2 ทักษะ คือ ทักษะการคิดวิเคราะห์ครบทั้ง 5 ขั้น และทักษะการคิดสร้างสรรค์ครบทั้ง 7 ขั้น 2) ครูผู้สอนใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักทั้ง 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้  มีการนำบทเรียนที่สร้างขึ้นไปใช้กับนักเรียนชั้นที่ปฏิบัติการสอนครบทั้ง 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 2 สหวิทยาเขต และ 3) วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผลโดย 1) การจัดทำบทเรียน ของครูผู้สอนใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 2.88, S.D. = 0.94) โดยครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจัดทำเป็นลำดับที่ 1 (gif.latex?\bar{x} = 3.16,  S.D. = 0.78) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จัดทำเป็นลำดับที่ 2 ( gif.latex?\bar{x}= 2.93, S.D. = 0.93) และลำดับที่ 3 ( gif.latex?\bar{x}= 2.84, S.D. = 0.95) คือครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ 2) การใช้ขั้นตอนกิจกรรมพัฒนา 9 ขั้น ของครูผู้สอนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 2.62, S.D. = 0.77) เช่นเดียวกัน โดยครูผู้สอนใช้ขั้นสร้างบทเรียนเป็นลำดับที่ 1 ( gif.latex?\bar{x}= 3.06, S.D. = 0.65) ใช้ขั้นนำบทเรียนไปใช้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายเป็นลำดับที่ 2 ( gif.latex?\bar{x}= 2.98, S.D. = 0.66) และใช้ขั้นค้นหา Best Practice เป็นลำดับที่ 3 (gif.latex?\bar{x} = 2.67, S.D. = 0.78)


 


 


    

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วานิช ประเสริฐพร

Dr.Vanich Prasertphorn

Dean of Faculty of Education

North Eastern University, Muang District, KhonKhaen Province 40000

Tel.: 086-715-2486  E-mail : vanich456@gmail.com

ไชยวัฒน์ ชุ่มนาเสียว

Dr.Chaivat Chumnasiao

Curriculum and Instruction Faculty of Education

North Eastern University, Muang District, KhonKhaen Province 40000

Tel.: 098-104-6549 E-mail: chai18022500@gmail.com

References

Basic Education Commission, Office of Ministry of Education. (2008). Indicators and core subjects Thai language core curriculum for basic education 2008, BE 2551.

Bangkok: Agricultural Cooperatives of Thailand. [in Thai]

Basic Education Commission, Office of Ministry of Education. (2017). Guideline for drive PLC to school, BE 2560 (copy print). [in Thai]

Basic Education Commission, Office of Ministry of Education (2017). Policy into action, BE 2560. (copy print). [in Thai]

Chan-o-cha, N. (2017). Guideline for drive PLC to school, BE 2560. (copy print). [in Thai]

Chookemnerd, W. (2014). A model of community learning profession to learn in the 21st century in Thailand school contextual, BE. 2557. Doctor of Philosophy in

Educational Administration. Prince of Songkha University. [in Thai]

Chumnasiao, C. (2017). The process of learning activities into critical thinking and creative thinking, BE 2560. The Secondary Educational Service Area office 30. (copy print). [in Thai]

Donhongsa, L. (2016). A model of community learning profession development in school “promoting of reading to understanding” in case study of Songpuey school, BE 2559. National symposium and presentation, Ratchtani academic 1st time. [in Thai]

Hord, S.M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement. Retrieve on 4 May 2016 from https://www.sedle.org.siss/plccredit.html

Jareonsettasin, T. (2017). Guideline for drive PLC to school, BE 2560. (copy print). [in Thai]

Khammani, T. (2000). A thinking and teaching innovation for learning for teachers of the reform of education, BE 2543. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Panich, V. (2012). The way to learn for discipline in 21st century, BE.2555. Bangkok: Tathata Publication Ltd. [in Thai]

Pornkul, C. (2008). Teaching a thinking process theory and implementation, BE 2554. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Srisa-ard, B. (2008). Statistical methods for research (4th ed.). Karasin: Prasarn Print. [in Thai]