การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียน ที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย

Main Article Content

พินิจ สังสัพพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทยของนักเรียน 2) พัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทยและ 3) ประเมินรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาที่ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันดนตรีไทยในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559 โดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 774 คน  เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบทดสอบชนิดปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกและแบบสอบถามในลักษณะมาตรประมาณค่า (Rating  Scale) 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม SPSS วิเคราะห์ตรวจสอบร่างรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้าน   ดนตรีไทยด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย ด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง  (Structural  Equation  Model : SEM)   โดยใช้โปรแกรม LISREL  ผลการวิจัยพบว่า


  1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทยของนักเรียน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี  โดยมีค่าไค – สแควร์ (c2) = 181.60  ค่า df =103 ค่า p = 0.000  ค่า  CFI = 0.996  ค่า RMSEA = 0.0314 ค่า GFI = 0.973 และค่า χ2/df = 1.763  ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนความสามารถพิเศษทางดนตรีไทยได้ร้อยละ 90.20 (R2 = 0.902) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถพิเศษด้าน ดนตรีไทยของนักเรียน มี 1 ตัวแปรคือ  ความสามารถพื้นฐานทางดนตรีไทย

  2. รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทยเป็นรูปแบบเชิงระบบประกอบ ด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1)  ปัจจัยนำเข้าได้แก่บทบาทของครอบครัว  2) กระบวนการ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์  คุณลักษณะเฉพาะของนักดนตรีไทยและความสามารถพื้นฐานทางดนตรีไทย 3)  ผลผลิตคือ  ความสามารถพิเศษทางดนตรีไทย  และ4)  ข้อมูลย้อนกลับถ้าหากผลผลิตไม่มีคุณภาพ 

                   3) ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย พบว่าค่าดัชนีความสอดคล้องของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีค่าอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 สามารถนำไปใช้สอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทยได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Baird, A. A., S. A. Gruber, et al. 1999. "Functional magnetic resonance imaging of facial affect
recognition in children and adolescents." Journal of the American Academy of Child
and Adolescent Psychiatry 38,2 : 195-9.
Baum, S. M., Owen. 1996. “Talent beyond words: Identification of potential talent in dance and
music in elementary students.” Gifted Child Quarterly, 40,2:93-102.
Davis ,Gary A.; & Rim, B. Sylvia. 2007. Education of the Gifted and Talented. Boston : USA.
Ellen Winner and Gail Martino. 1993. “Giftedness in the Visual Arts and Music.” International
Handbook of Research and Development of Giftedness and Talent. NY : Pergamon
Press. Ltd.,253-282.
ERIC Clearinghouse on Handicapped and Gifted Children. 1985. Recognizing the
characteristics of gifted children. Retrieved from https://www.ri.net/gifted_talented/
character.html
Freeman, Joan. 1993. “Parents and Families in Nurturing Giftedness and Talent.”
International Handbook of Research and Development of Giftedness and Talent.
A.H.,Oxford : Pergaman Press.
Friedman, M.M. , Bowden, V.R. , & Jones, E.G. 2003. Family nursing: Research, theory, and
practice (5th ed.). Upper Saddle River, NJ : Prentice Hall .
Gagne, F. 2003. “Transforming gifted into talents : The DMGT as development theory.”
Handbook of gifted education, Boston :Allyn and Bacon, 60 – 74.
Howard Gardner. 1993. Multiple Intelligences : The Theory in Practice. USA : Basic Books.
Marek-Schroer, M. F., & Schroer, N. A. 1993. “Identifying and providing for musically gifted
young children.” A Journal on Gifted Education, 16,1 : 33-36.
Marland, S. 1972. Education of the gifted and talented. Washington: U.S. Government
Printing Office.
Meeker, M. 1977. The structure of intellect. Columbus, OH: Merrill.
Park,K.A., & Waters, E. 1989. “Security of attachment and preschool friendships.” Child
Development, 60 1076-1081.
Renzulli, J.S. 1986. The Enrichment Triad Model : A Guide for Developing Defensible Programs for
The Gifted and Talented. Wethersfield : Creativity Learning Press.
U.S. Department of Education. 1993. National excellent : The case for developing
Americas talent. Washington : U.S. Government Printing Office.