การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันนำทางท่องเที่ยวด้วยตนเองในพื้นที่ ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

Sahattaya Sittivised
จงรักษ์ มณีวรรณ์
วราภรณ์ ศรีนาราช
สมประสงค์ แสงอินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจเส้นทางและข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย พัฒนาโมบายแอปพลิเคชันนำทางท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลป่าตึง และประเมินผลความพึงพอใจต่อการใช้งานโมบายแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ประกอบการ ผู้นำชุมชนท้องถิ่น ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจโมบายแอปพลิเคชันนำทางท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย


                ผลการสำรวจเส้นทางและข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย พบว่าแหล่งท่องเที่ยวที่ชุมชนมีความต้องการนำเสนอในแอปพลิเคชันและมีศักยภาพที่จะสามารถรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้มีทั้งหมด 7 แห่ง ได้แก่ (1) โฮมสเตย์บ้านดินหล่อโย (Akha Mudhouse Tour) (2) วัดเมืองมูลบุญเรืองคีรี (3) วัดจันทราราม (4) ร้านจำหน่ายสินค้า/ผลิตภัณฑ์ชนเผ่าบ้านเล่าฝู่ (คุณสุมาลี) (5) วนอุทยานน้ำตกห้วยก้างปลา (6) พิพิธภัณฑ์ชาวเขาเผ่าบ้านหล่อชา (7) น้ำพุร้อนป่าตึง เนื้อหาที่จะนำเสนอเป็นข้อมูลในแอปพลิเคชัน ชุมชนมีความต้องการให้นำเสนอข้อมูล ดังนี้ (1) ประวัติ/ข้อมูลแนะนำสถานที่ (2) เวลาทำการ (3) ที่ตั้ง (4) เบอร์โทรติดต่อ (5) Website (6) อัตราค่าบริการ (7) ข้อมูลแนะนำเพิ่มเติม (8) รูปภาพประกอบ (9) คำนวณระยะทางระหว่างตำแหน่งปัจจุบันกับสถานที่ท่องเที่ยว (10) คำนวณระยะทางระหว่างสถานที่ท่องเที่ยว (11) จัดทำเป็น 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาจีน และภาษาอังกฤษ


                ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานโมบายแอปพลิเคชันนำทางท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย พบว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันอยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D. = 0.71)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จงรักษ์ มณีวรรณ์

Miss Jongrak Maneewan

                Chinese Program, Faculty of Humanities,

                Chiang Rai Rajabhat University 57100

                Tel: 08-3245-9546 

E-mail : [email protected]

วราภรณ์ ศรีนาราช

Assist.Prof. Waraporn Srinarach

                Western Languages Program, Faculty of Humanities,

                Chiang Rai Rajabhat University 57100

                Tel: 08-3763-5033

E-mail : [email protected]

สมประสงค์ แสงอินทร์

Mr. Somprasong Saeng-in

                Thai Language and Culture Program, Faculty of Humanities,

                Chiang Rai Rajabhat University 57100

                Tel: 08-1446-9234

E-mail : [email protected]

References

Chanphoom, S., et al. (2017). The Development Mobile Application Tourist Attraction
in Sakon Nakhon Province on Android. Journal of Information Technology
Management and Innovation. Manhasarakham University : Mahasarakham,
114-120. [In Thai]
Hongma, P., et al. (2015). The Development Mobile Application 7 Days @ Nakorn
Panom Province . The 7th National Conference on Information Technology.
Bangkok : King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. , 159-164.
[In Thai]
Knowledge development for SME. (2018). Digital technology for travel services and
related businesses. Retrieved on 25 August 2017 from www.sme.go.th [In Thai]
Nindum, K., et al. (2018). The Youth Development Guideline as a Communicator for
Ethnic Tourism Promotion in Mae Chan District, Chiang Rai Province
(Research report). Chiang Rai : Faculty of Mangement Chiang Rai Rajabhat
University. [In Thai]
Seanpakdee, S. (2014). Augmented Reality Applications in ASEAN Economics
Community. PSRU Journal of Science and Technology (The 10th
Mahasarakham University Research Conference) : Mahasarakham, 257-264.
[In Thai]
Thanya, N. (2009). The development of Electronic-Online science Lessons Using
High/Scope Instructional Activities for Level 3 Students at Benjamarachalai
School Under The Royal Patronage of the King. Chonburi : Burapha
University. [In Thai]