เหตุจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมหลังจบการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

Jukkaphong Poung-ngamchuen

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ                                                                                        


              อายุเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น และปริมาณที่ลดลงของเกษตรกร เป็นปัญหาหลักในภาคเกษตรของประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย การทราบสาเหตุหรือเหตุจูงใจที่แท้จริงในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของนักศึกษาด้านการเกษตรเป็นประเด็นที่รัฐบาลควรให้ความสนใจเพื่อเร่งแก้ไขปัญหา ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นที่จะค้นหาเหตุจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมหลังจบการศึกษา โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกจากนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 คณะแกนหลัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ คือ คณะผลิตกรรมการเกษตร คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ และคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 1,550 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา เชิงอนุมาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาที่คาดว่าจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมหลังจบการศึกษามากที่สุดมาจากคณะผลิตกรรมการเกษตร (ร้อยละ 52.70) โดยเหตุจูงใจสูงสุด คือ ความเจริญทางเทคโนโลยีด้านการเกษตร (ค่าเฉลี่ย 4.19) นอกจากนี้ การศึกษาในภาพรวมยังพบ 5 ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อเหตุจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ เพศ ที่ดินทำกิน (5-10 ไร่) การเรียนกลุ่มวิชาสหกิจศึกษา ความรู้เฉพาะทางด้านการเกษตร (พืชไร่) และทัศนคติต่ออาชีพเกษตรกรรม และ 7 สาเหตุหลักที่ส่งผลให้นักศึกษาไม่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ การเข้าร่วมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ความไม่เชื่อมั่นในการแก้ไขป้ญหาด้านการเกษตรของรัฐบาล รายได้จากการทำการเกษตร ความไม่มั่นใจในความรู้ด้านการเกษตรที่เรียนมา ความไม่ชัดเจนของหลักสูตรที่เรียน โอกาสในการประกอบอาชีพอื่นๆ และความสะดวกสบายในการประกอบอาชีพอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับการเป็นเกษตรกร


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย