การจัดอันดับเรทติ้งด้านการประหยัดพลังงานของครัวเรือนในประเทศไทย

Main Article Content

ศศิธร แม้นสงวน
ขนบพันธุ์ เอี่ยมโอภาส
อุดมเกียรติ ศรีชนะ
ประเสริฐ จันต๊ะไพร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้พลังงานของประชาชนภาคครัวเรือน และการจัดอันดับเรทติ้งประเทศไทยกับการประหยัดพลังงาน ก่อนและหลังการจัดโครงการประชาสัมพันธ์รณรงค์การประหยัดพลังงาน ภายใต้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปี 2559 กระทรวงพลังงาน ประชากรการวิจัย ได้แก่ ประชาชนภาคครัวเรือน โดยสุ่มตามความสะดวก ใน 6 ภาคๆละ 2 จังหวัดรวม12 จังหวัด ที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุด และรองลงมาเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังครั้งละ 1,778 ตัวอย่าง รวม 3,556 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าที (t-test) และค่าไคสแควร์ ( - test)ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานความน่าเชื่อถือและการเข้าถึงประชาชนของสื่อ ได้แก่ สื่อโทรทัศน์การให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ก่อนการจัดโครงการฯ กลุ่มตัวอย่างในแต่ละภาคให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงานเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตกภาคตะวันออกภาคเหนือและภาคกลาง ภาคใต้แต่หลังการจัดโครงการฯแล้ว แต่ละภาคให้ความสำคัญดังนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตกภาคเหนือและภาคใต้ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน (Lifestyle) กับการประหยัดพลังงาน พบว่า หลังจัดโครงการฯแล้วมีค่าเฉลี่ย โดยรวมสูงกว่าก่อนจัดและโดยรวมมีพฤติกรรมการประหยัดพลังงานอยู่ในระดับมาก โครงการที่รับรู้มากที่สุด ได้แก่ โครงการ “รวมพลังหาร 2 คิดก่อนใช้”

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ศศิธร แม้นสงวน

ภาคภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

ทศพล พรหมนารถ. (2554) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาล
ตำบลบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ.ปัญหาพิเศษ/รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต ชลบุรี :
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2540) การประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีอัมพร ปานพรหม (2557)การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองที่มีต่อการเรียนกวดวิชา
โรงเรียน โฟกัสเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร : สารนิพนธ์ การศึกษาพิเศษมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).
กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุภวัฒน์ สงวนงาม (2557) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกรับชมรายการของสถานีโทรทัศน์.
การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเนชั่น.