การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ในเขตเทศบาลตำบาลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ณัฐพล วงษ์รัมย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจและจำแนกพื้นที่ป่าไม้ และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ในเทศบาลตำบาลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ในช่วงปี พ.ศ. 2545-2557 โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ. 2545 และภาพถ่ายดาวเทียมที่บันทึกใน ปี พ.ศ. 2550 และ 2557 มาจำแนกพื้นที่ป่าไม้ด้วยการแปลภาพด้วยสายตา และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ในปี พ.ศ. 2545 ถึงปี พ.ศ. 2557 ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เทคนิคการซ้อนทับข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ในปี พ.ศ. 2545 2550 และ 2557 มีพื้นที่ป่าไม้ 8.781  8.586 และ 7.985 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 – 2550 พื้นที่ป่าไม้ลดลง จำนวน 0.195 ตารางกิโลเมตร หรือ 121.875 ไร่ ลดลงคิดเป็นร้อยละ 2.21 เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ นาข้าว มากที่สุด คือ 0.095 ตารางกิโลเมตร หรือ 59.376 ไร่ และปี พ.ศ. 2550-2557 พื้นที่ป่าไม้ยังคงลดลงอีก จำนวน 0.601 ตารางกิโลเมตร หรือ 375.625 ไร่ ลดลงคิดเป็นร้อยละ 7.00 ป่าไม้เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ ยางพารา มากที่สุด คือ 0.274 ตารางกิโลเมตร หรือ 171.25 ไร่ นอกจากนี้ยังพบว่า พื้นที่ป่าไม้มีการเพิ่มขึ้น 0.057 ตารางกิโลเมตร หรือ 35.625 ไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว อยู่ในบริเวณป่าชุมชนบ้านจาน พื้นที่ป่าไม้มีแนวโน้มลดลง โดยเฉลี่ยปีละ 0.039 ตารางกิโลเมตร หรือ 24.375 ไร่ต่อปี ในช่วง พ.ศ. 2545-2557 และลดลงปีละ 0.086 ตารางกิโลเมตร หรือ 53.75 ไร่ ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2550-2557 แสดงให้เห็นว่า อัตราการลดลงของพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการแผ้วถางเพื่อทำเป็นพื้นที่การเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่นาข้าวและยางพาราเป็นหลัก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ณัฐพล วงษ์รัมย์

สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

References

ชรัตน์ มงคลสวัสดิ์ และวาสนา พุฒกลาง. (2549). ทรัพยากรป่าไม้และการตรวจวัดความเปลี่ยนแปลง ด้วยภาพถ่ายดาวเทียมหลายวันที่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว. ค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2558 จาก http://abc-un.org/research/rdg52o0001
เทศบาลตำบาลหนองเต็ง. (2559). สภาพและข้อมูลพื้นฐาน. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2558 จาก http://www.nongteng.go.th/สภาพและข้อมูลพื้นฐาน
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2558). ป่าบุ่งป่าทามมดลูกของแม่น้ำอีสาน. ค้นเมื่อ 27 กันยายน 2558, จาก http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article &id=234:libery&catid=65:2009-11-12-08-43-25&Itemid=80
ภัทรพร พิมดี และรัศมี สุวรรณวีระกำธร. (2554). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อกำหนดพื้นที่เสียงต่อการถูกบุกรุกป่าไม้เพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม บริเวณเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย. วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย. 12(1), 43-68.
สุระ พัฒนเกียรติ และปรัช กองสมบัติ. (2556). การประยุกต์ใช้ภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้และการใช้ที่ดินในพื้นที่ระบบนิเวศภูเขาจังหวัดเชียงใหม่. ค้นเมื่อ 11 กันยายน 2558 จาก http://kukr.lib.ku.ac.th/ku_proceed/PFOR/search_detail/dowload_digital_file/166941/34940
สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพ. (2558). ป่าสงวนแห่งชาติ. ค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2558 จาก http://chm-thai.onep.go.th/chm/PA/Detail/forest.html
Sajjad Anwar, Hussain Ahmad, Wahab Umar, Adnan Syed, Ali Saqib, Ahmad Zahoor and Ali Ashfaq. (2015). Application of Remote Sensing and GIS in Forest Cover Change in Tehsil Barawal, District Dir, Pakistan, American Journal of Plant Sciences, 6, 1501-1508.
Buckerdge, D., Mason, R. and Robertson, A. (1999). Geo-Inforamtics. Access date September 16, 2015, from http://www.gisthai.org/about-gis/gis.html