การศึกษาเปรียบเทียบปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาการบริหารจัดการขยะมูลฝอย 2) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : เทศบาลตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามได้จากการสุ่มจากประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้จำนวน 398 คน แล้วทำการสุ่มให้กระจายไปตามหมู่บ้านต่างๆ ตามสัดส่วน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ด้วยการกำหนดโควตา จำนวน 15 คน การวิเคราะห์แบบสอบถามได้ค่าความเชื่อมั่น 0.961 ด้วยการแจกแจงความถี่หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างใช้ t-test และ F-test ส่วนข้อมูลที่ได้จากเทคนิคการสัมภาษณ์ใช้วิเคราะห์แบบอุปมาน ผลการวิจัยพบว่า ทั้ง 5 ด้าน คือ การลดการเกิดขยะ การคัดแยกขยะการนำกลับมาใช้ซ้ำ การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ และการกำจัดที่ปลอดภัย โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การคัดแยกขยะมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนนอกนั้นมีปัญหาอยู่ในระดับน้อยแต่เมื่อเปรียบเทียบแยกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านไม่มีปัญหาความแตกต่างกัน สำหรับผลจากการสัมภาษณ์พบปัญหา ตั้งแต่ระดับปานกลางถึงน้อย 3 ด้าน คือ ด้านการคัดแยกขยะ ด้านการกำจัดที่ปลอดภัย และด้านการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ส่วนข้อเสนอแนะทางการแก้ปัญหาการบริหารจัดการขยะนั้นทุกฝ่ายต้องสร้างการมีส่วนร่วม สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิด ทำให้หมู่บ้านปลอดมลพิษโดยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การเกษตร จัดทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ เรียนรู้ร่วมกัน จัดตั้งธนาคารขยะและกลุ่มเลี้ยงไส้เดือนดินเพิ่มให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน เพื่อบริหารจัดการขยะให้เป็นประโยชน์ และเทศบาลควรมีการจัดเก็บขยะอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการจัดหาพื้นที่กำจัดขยะอย่างถูกวิธี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม. (2542). คู่มือการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจรสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.
กรมควบคุมมลพิษ. (2551). คู่มือแนวทางการลด คัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย. กรุงเทพ ฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2548). มาตรฐานการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2544). การจัดการมูลฝอยของเทศบาลในประเทศไทย :สถานการณ์ในปัจจุบันและทิศทางในอนาคต. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทองม้วน สิมนาม. (2557). การศึกษาสภาพการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของเทศบาลในเขตพื้นที่อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ รป.ม. (ปกครองท้องถิ่น). ศรีสะเกษ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่ 10). บุรีรัมย์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
รถ ศรีสุราช. (2555). สภาพและปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลวิเชียรบุรีอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
วีระ บำรุงศรี. (2549). องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นกับการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ศึกษากรณีจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สกล พลบุบผา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองชุมเห็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
สุธีลาตุลยะเสถียร และคณะ. (2544). มลพิษสิ่งแวดล้อม (ปัญหาสังคมไทย). กรุงเทพฯ : ร่วมสาส์น.
อร่าม คุ้มกลาง และอนุชา จันทร์บูรณ์. (2549). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพปัญหาขยะแนวโน้มในอนาคต และแนวทางในการแก้ไขปัญหาของจังหวัดน่าน. น่าน :องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน.
อัฐพร ศรีสนอง. (2550). ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ศึกษากรณี องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไปบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.