การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับพ่อค้า แม่ค้า เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลหนองกี่ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ชมพู อิสรยาวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารพ่อค้า แม่ค้า เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลหนองกี่ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และศึกษาการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ สัมภาษณ์เจาะลึก สนทนากลุ่ม การจัดเวทีวิเคราะห์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรค์การเรียนภาษาอังกฤษของเจ้าหน้าที่เทศบาลและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองกี่ มีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 77 คน พบว่า ส่วนใหญ่มีความกลัวและกังวลในการสื่อสารภาษาอังกฤษ เนื่องจากไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่ตนเองพูด กลัวว่าตนเองจะพูดผิด กลัวใช้ไวยากรณ์ผิด ทำให้ไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษ ไม่กล้าแสดงออก แปลความหมายไม่ได้จึงไม่สามารถสื่อสารเบื้องต้นกับชาวต่างชาติได้ การพัฒนาภาษาอังกฤษจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาทักษะให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือการ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดทักษะการเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากการใช้เทคนิคการฟังพูดอ่านเขียนทำให้ประชาชนในเขตเทศบาลอำเภอหนองกี่สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ในระดับพื้นฐานและกล้าที่จะเรียนรู้จนนำไปสู่การสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประวันได้ ตลอดจนพัฒนาภาษาอังกฤษให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป เนื่องจากเทศบาลตำบลหนองกี่มีเส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น ปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ ตลอดจนเป็นเส้นทางเชื่อมโยงเข้าสู่จังหวัดนครราชสีมา จึงทำให้ พ่อค้า แม่ค้า เจ้าหน้าที่เทศบาลและประชาชนทั่วไป ต้องเตรียมความพร้อมในการปรับตัวด้านภาษาอังกฤษมากขึ้น เพื่อเป็นการติดต่อข้อมูลข่าวสารหรือช่วยเหลือชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยว ตลอดจนติดต่อข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานราชการ ในพื้นที่ตำบลหนองกี่อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ชมพู อิสรยาวัฒน์

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

References

จารุวรรณ บุตรเคน. (2552). โครงการแนวทางการจัดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กรณีศึกษาโรงเรียนปทุมราชวงศา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
เนตรปรียา ชุมไชโย. (2551). เรียนภาษาอังกฤษกันเข้าไปแต่พูดไม่ได้สักที่. กรุงเทพฯ : สุขุมวิทการพิมพ์.
ธีระ ธัมมธีโร(พระ). (2550). ได้ศึกษาทัศนคติในการเรียนภาษาอังกฤษของพระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พูลสุข รัตโนทยานนท์. (2553). การสำรวจการใช้รูปแบบวิธีการเรียนรู้แบบร่วมงานในการทำโครงการของนิสิตปริญญาตรี. วารสารภาษาปริทัศน์. (25) : 67-84.
สุนิตย์ ยอดขันธ์. (2555). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุมโดยใช้ชุดฝึกการเขียนตามคำบอก. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2539). แนวคิดและเทคนิควิธีการสอนภาษาอังกฤษ. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณี วิริยะจิตรา. (2555). การสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
Cambridge advanced learner's dictionary online. Retrieved on February 10, 2017 from http://dictionary.cambridge.org Search on 20 May 2015
Hutchinson, T. and Waters, A. (1987). English for Specific Purposes. UK: Cambridge University Press.
Jordan, H. (1997). The achievement environment. Secured Lender, 53(3), pp. 46-48.
Raimes, A. (1983). Teaching techniques as a second language Oxford American English. Oxford: Oxford University Press.
Stewart, M. C. (1994). Conceptual and lexical development in second language acquisition. Journal of Memory and Language. 36, 550-568.