การพัฒนาเครื่องแต่งกายของวงดนตรีลูกทุ่งเพื่อสร้างเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของภาคใต้

Main Article Content

สารภี เอกเพชร
กล้า สมตระกูล
วิศนี ศิลตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ของวงดนตรีลูกทุ่งในภาคใต้ ผู้วิจัยได้เลือกวงดนตรีที่ใช้เป็นกรณีศึกษา จากวงดนตรีลูกทุ่งในโรงเรียน 8 วง การดำเนินการวิจัยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสังเกต การสนทนา การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง และการสนทนากลุ่ม และประชุมปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาที่พบในวงดนตรีลูกทุ่งภาคใต้ คือ การแต่งกายยังมีสภาพเกินจริง มีการแต่งกายที่ไม่เหมาะสม สื่อไปในเรื่องเพศ และขาดเอกลักษณ์ในความเป็นภาคใต้ ผลการพัฒนาเครื่องแต่งกายของวงดนตรีลูกทุ่ง โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า มีแนวคิดในการพัฒนา 3 ประการ คือ แนวคิดในการพัฒนาเครื่องแต่งกาย โดยเน้นการใช้วัสดุพื้นเมือง คำนึงถึงองค์ประกอบ 3 กลุ่ม คือ เครื่องประดับศีรษะ เครื่องประดับกาย และชุดที่สวมใส่ และประการสำคัญต้องเน้นความสวยงาม ความคล่องตัวในการแสดง เป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้แก่ ชุมชน ชุดที่ออกแบบตามขั้นตอนนี้ ประกอบด้วย ชุดนักดนตรีชายหญิง ชุดนักร้องหญิงเพลงช้า เพลงเร็ว ชุดหางเครื่องเพลงช้า เพลงเร็ว การออกแบบชุดทุกประเภทเน้นการใช้แบบพื้นฐานทั่วไปของวงดนตรีลูกทุ่ง นำมาตัดเย็บด้วยผ้าพื้นเมือง ประดับตกแต่งด้วยวัสดุท้องถิ่น และเครื่องประดับในการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ ข้อเสนอแนะสู่ความยั่งยืนของการพัฒนาเครื่องแต่งกายวงดนตรีลูกทุ่งเพื่อสร้างเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมของภาคใต้ คือควรมีการขยายผลสู่การจัดการแสดง ต่อยอดสู่การผลิตและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สารภี เอกเพชร

“เอกเพชร บ้านรำ เต้น เล่นดนตรี”

References

Angkinan, P. (2009). Look Tung Bands: Birth, Development and Decline. Bangkok: Silpakorn University Press.
Fadzil, A. B. (1993). Malaysian Songket: Between traditions. In: Textiles of Asia: A Common Heritage, pp. 111-119. Thailand: Amarin Printing.
Grobtong, S. (2004). The Evolution of Look Tung in Thai Society. Bangkok: Pantakit.
Junngam, C. (2011). Thai Dance that Appears in the Complementary Show of the Singer of Country Music Band. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Nootong, U. (1988). Indigenous Music and Entertainment of the South. Songkhla: Srinakharinwirot University.
Saijai, G. et al. (2003) The Aesthetics of Life. Bangkok: Suan Dusit University.
Satsongwon, N. (1999) Humanities Research. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Sorat, S. (1973). Khon, Drama, Dancing and Ethnic Entertainment. Bangkok: Pikanet.