การคงอยู่ของเพลงพื้นบ้าน “เจรียงเบริน”
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและองค์ประกอบของเพลงพื้นบ้านเจรียงเบริน 2) ศึกษาลักษณะการคงอยู่และปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของเพลงพื้นบ้านเจรียงเบริน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยเทคนิคการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป นำเสนอผลวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นมาของเจรียงเบรินเป็นเพลงพื้นบ้านของชาวไทยเขมรในแถบจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์และศรีสะเกษ วิวัฒนาการมาจากบทร้องกันตร็อบไกของกัมพูชา องค์ประกอบมีนักร้องชาย-หญิงและหมอแคนอย่างละ 1 คน ใช้วิธีด้นกลอนสดเป็นภาษาเขมรร้องโต้ตอบกันประกอบเสียงแคน เนื้อหาและบทร้องเกี่ยวข้องกับทางโลกและทางธรรม ขั้นตอนการเล่นมีการบูชาครู ขึ้นเวทีแสดง แนะนำตัวกับผู้ชม กล่าวถึงความสำคัญของงาน ร้องถามตอบ ร้องอวยพรและอำลา ท่ารำตามจังหวะเสียงแคน การแต่งกายแบบพื้นเมืองไทยเขมรสุรินทร์ เจรียงเบรินเล่นได้ทั้งงานมงคลและอวมงคล ลักษณะการคงอยู่ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดง จากเดิมนิยมร้องแบบเบ็ดเตล็ด ปัจจุบันร้องเกี่ยวกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สอดแทรกคติสอนใจ เจรียงเบรินมีโอกาสถ่ายทอดผ่านงานต่างๆ ทั้งงานส่วนบุคคลและส่วนรวม รวมทั้งเจรียงเบรินผ่านสื่อทางสถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์และการบันทึกลงแถบบันทึกเสียง ปัจจัยการคงอยู่ ได้แก่การตั้งคณะเจรียงและการตั้งชมรมเจรียงเบริน ทำให้เกิดความสามัคคีและช่วยเหลือกันในกลุ่ม การปรับรูปแบบการแสดงและปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับลักษณะของงาน รวมทั้งมีการถ่ายทอดเจรียงเบรินสู่บุตรหลานและเยาวชนรุ่นหลัง จึงทำให้เจรียงเบรินสามารถดำรงอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
เครือจิต ศรีบุญนาค. (2546). เจรียงเบริน : เพลงพื้นบ้านของชาวไทยเขมรจังหวัดสุรินทร์. ภาควิชานาฏศิลป์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฏสุรินทร์.
ชมศรี ภู่เงินงาม. (2559, มีนาคม 12 ). สัมภาษณ์.
พชร สุวรรณภาชน์. (2543). เพลงโคราช : การศึกษาทางมานุษยวิทยาการทางดนตรี วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา. มหาวิทยาลัยมหิดล.
นิยพรรณ วรรณศิริ. (2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญยัง หมั่นดี. (2547). ปรัชญาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ปัทมา บุญอินทร์. (2537). การปรับตัวของเพลงพื้นบ้าน : ศึกษากรณีเพลงโคราช จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. คณะสังคมศึกษาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พร้อมเพชร แสงกล้า. (2559, มิถุนายน 9). สัมภาษณ์.
สายรุ้ง ภูมิสุข. (2559, มกราคม 21). สัมภาษณ์.
สำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2540). ทศวรรษโลกเพื่อการพัฒนาวัฒนธรรม : กรอบความคิดวัฒนธรรมกับการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
อารีย์ ทองแก้ว. (2549). วัฒนธรรมท้องถิ่นสุรินทร์. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
อเนก นาวิกมูล. (2532). คนเพลงและเพลงพื้นบ้านภาคกลาง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
Krober, A. (1963). The Nature of Culture. Chicago: University of Chicago Press.