การใช้คำบุรุษสรรพนามของชาวไทยพวนภาคอีสาน

Main Article Content

กัญณฐา พงศ์พิริยะวนิช
จารุวรรณ เบญจาทิกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาคำบุรุษสรรพนามที่ใช้ในกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน ภาคอีสาน เพื่อศึกษาการใช้คำบุรุษสรรพนาม ของชาวไทยพวน 3 ช่วงอายุ ได้แก่ ช่วงอายุ 15-25 ปี ช่วงอายุ 35-45 ปี และ ช่วงอายุ 55-65 ปี พื้นที่วิจัย คือ 1) หมู่บ้านบุฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 2) หมู่บ้านถ่อน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และ 3) หมู่บ้านโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ซึ่งรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการบันทึกเทป ผลการวิจัย พบว่า ชาวไทยพวนมีการใช้คำบุรุษสรรพนาม ทั้งหมด 193 คำ โดยแยกประเภทของคำบุรุษสรรพนาม ได้แก่ 1) คำบุรุษสรรพนามที่ 1 จำนวน 42 คำ 2) คำบุรุษสรรพนามที่ 2 จำนวน 95 คำ และ 3) คำบุรุษสรรพนามที่ 3 จำนวน 56 คำ ทั้งนี้ยังพบว่าชาวไทยพวนภาคอีสานได้ใช้คำบุรุษสรรพนามตามบริบททางสังคม ได้แก่ กาลเทศะ เพศ อายุ ความเป็นเครือญาติ ความสนิทสนม ความสุภาพ และการแสดงอารมณ์ โดยคำบุรุษสรรพนามที่ใช้ตามกาลเทศะ จัดแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ ความเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพศ คือแบ่งตามสภาพเพศ ได้แก่ เพศชายและเพศหญิง อายุ แบ่งออกเป็น 3 ช่วงอายุ ได้แก่ 1) ช่วงอายุ 15-25 ปี 2) ช่วงอายุ 35-45 ปี และ 3) ช่วงอายุ 55-65 ปี ความเป็นเครือญาติ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ ความเป็นเครือญาติกันและไม่เป็นเครือญาติกัน ความสนิทสนม แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ สนิทสนมกันและไม่สนิทสนมกัน ความสุภาพ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ แสดงความสุภาพและไม่แสดงความสุภาพ การแสดงอารมณ์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ แสดงอารมณ์พอใจและแสดงอารมณ์ไม่พอใจ ผลการศึกษายังพบว่า ชาวไทยพวนทั้ง 3 ช่วง ยังคงมีการรักษาและมีการใช้คำบุรุษสรรพนามภาษาไทยพวนภาคอีสาน ได้แก่ คำบุรุษสรรพนามที่ 1 คำบุรุษสรรพนามที่ 2 และคำบุรุษสรรพนามที่ 3 นอกจากนี้ยังพบว่าชาวไทยพวนภาคอีสานมีการนำคำบุรุษสรรพนามภาษาไทยถิ่นเลย ภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาไทยกลางมาใช้ร่วมด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

กัญณฐา พงศ์พิริยะวนิช

สาขาวิชาภาษาไทย สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

References

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2526). ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมทรง บุรุษพัฒน์. (2543). ภูมิศาสตร์ภาษาถิ่น. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท.
Brown, J. (1965). From Ancient Thai to Modern Dialects. Bangkok: Social Science Association Press of Thailand.
Chamberlain, R. (1975). A New Look as the History Classification of the Tai Language. Lanxang Heritage, 5(3), 45-48.
Frake, C. (1980). Language and Cultural Description Essays. Stanford: Stanford University Press.
Palakornkul, A. (1972). A Socio-Linguistic Study of Pronominal Strategy in Spoken Bangkok Thai. Dissertation, Ph.D., University of Texas, Austin.