กลวิธีการแสดงความเห็นกระทู้ทางการเมืองบนเฟสบุ๊กดอทคอม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการแสดงความเห็นกระทู้ทางการเมืองบนเฟสบุ๊กดอทคอม โดยใช้ข้อมูลจากกระทู้ทางการเมืองจำนวน 10 กลุ่มการเมือง จำนวน 620 กระทู้ที่เขียนระหว่างวันเดือนพฤศจิกายน 2556 ถึง เดือนสิงหาคม 2557 โดยประยุกต์ใช้แนวการวิเคราะห์วัจนกรรมผลการศึกษาพบว่า การเขียนแสดงความเห็นกระทู้ทางการเมืองบนเฟสบุ๊ก สามารถจำแนกได้ 10 กลวิธี ประกอบด้วย 1) การบอกเล่าเรื่องหรือเล่าเหตุการณ์ 2) การขอร้องหรือชักชวน 3) การแสดงความรู้สึก 4) การถาม-ตอบ 5) การสาปแช่งหรือข่มขู่ 6) การนำเสนอโดยใช้เรื่องแต่ง 7) กลวิธีการกล่าวให้ร้าย 8) การกล่าวติเตียน 9) การแนะนำ 10) การเรียกร้อง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
ทรงธรรม อินทจักร. (2550). แนวคิดพื้นฐานด้านวัจนปฏิบัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์. (2555). การศึกษาการปฏิสัมพันธ์ในห้องสนทนาแคมฟร็อกในภาษาไทย : กรณีศึกษาห้องสนทนาในโซน 18+. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ศิริพร ปัญญาเมธีกุล. (2558). ภาษาและอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ : พริ้นท์คอร์เนอร์.
สมบัติ บุญงามอนงค์. (2554). เฟสบุ๊กในไทย คือพื้นที่ต่อสู้ออนไลน์ที่ดุเดือดแห่งหนึ่งของโลก. ในชูวัส ฤกษ์ศิริสุข (บก.) สื่อออนไลน์ (หน้า43-51). กรุงเทพฯ : ประชาไท บุ๊คคลับ.
อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์. (2554). การใช้อินเทอร์เน็ตเชิงการเมืองในประเทศไทย. ในชูวัส ฤกษ์ศิริสุข (บก.) สื่อออนไลน์ (หน้า11-16). กรุงเทพฯ : ประชาไท บุ๊คคลับ.