คุณค่าทางวัฒนธรรมของโหราศาสตร์ชาติพันธุ์ในแอ่งสกลนคร

Main Article Content

สถิตย์ ภาคมฤค
วรวรรธน์ ศรียาภัย
บุญยงค์ เกศเทศ
จารุวรรณ เบญจาทิกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าทางวัฒนธรรมของโหราศาสตร์ชาติพันธุ์ในแอ่งสกลนคร โดยกำหนดเก็บข้อมูลจาก 8 กลุ่มชาติพันธุ์ในแอ่งสกลนคร คือ ไทยย้อ ผู้ไทย ไทยแสก ไทยลาว ไทยโย้ย ไทยพวน กะเลิง และโซ่ โดยเก็บข้อมูลภาคสนามทั้งที่เป็นมุขปาฐะและลายลักษณ์ของผู้บอกข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า คุณค่าทางวัฒนธรรมของโหราศาสตร์ที่ปรากฏมี 2 ลักษณะ คือ 1) คุณค่าต่อคน พบว่ามีคุณค่าการดำรงชีพ และการกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสม คุณค่าเหล่านี้ยังช่วยสร้างระบบแบบแผนและแนวทางปฏิบัติร่วมกันได้อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 2) คุณค่าต่อสังคม พบว่า มีคุณค่าต่อการสร้างระบบแผนให้มนุษย์สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้พร้อมกันและสร้างแนวปฏิบัติที่วางความเชื่อถือร่วมกัน  ผลการวิเคราะห์นี้สะท้อนความสำคัญที่ปรากฏในตำราโหราศาสตร์ที่ช่วยให้สังคมมนุษย์สามารถดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สถิตย์ ภาคมฤค

สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

References

คำตา สอนสา. (2558, มกราคม 20). ที่อยู่ 18/2 หมู่ 10 บ้านดอนติ้ว ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์.
นันทนา แรงจริง .(2546). การใช้กิจกรรมเพื่อพัฒนาความตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรมและการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประมวณ วรรณโชติผาเวช. (2551). การประเมินความแม่นยำของโหราศาสตร์ไทยในการพยากรณ์ลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมในการทำงาน. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประเสริฐ ณ นคร. (2541). สารนิพนธ์ ประเสริฐ ณ นคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรสวรรค์ สุวรรณศรี. (2547). การวิเคราะห์คุณค่า การดำรงอยู่ และการสืบทอดผญาอีสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน.(2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554 (ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์,มูลนิธิ. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคอีสาน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
สุวรรณา วังโสภณ. (2547). การศึกษาวัฒนธรรมการถ่ายทอดดนตรีประจำชาติไทยและญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทัย ปัญญาโกญ. (2547). การนำเสนอรูปแบบการศึกษาเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมอาข่า. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.