นิเวศวัฒนธรรมชุมชนล้านนากับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

Main Article Content

สามารถ ใจเตี้ย

บทคัดย่อ

ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติทั้งการเกิดอุทกภัยจากน้ำล้นตลิ่ง ภัยแล้งที่ทำให้น้ำในแม่น้ำแห้งขอด การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อการเกษตร และการเกิดภาวะโลกร้อน สาเหตุหลักเกิดจากกิจกรรมของประชาชนในพื้นที่ การบูรณาการแนวคิดการบวชป่า การสืบชะตาแม่น้ำ การเลี้ยงผีฝาย และการแห่ช้างเผือกจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการใช้ประโยชน์ของประชาชนและก่อเกิดกระบวนการมีส่วนร่วม การสร้างเสริมกิจกรรมและสร้างแหล่งเรียนรู้ และการสร้างกติกาชุมชนในการอนุรักษ์แหล่งน้ำ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม และลักษณะทางกายภาพของทรัพยากรแต่ละพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สามารถ ใจเตี้ย

ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

References

จักรพงษ์ พวงงามชื่น สวิชญา ศุภอุดมฤกษ์ ตรีรัตน์ และนคเรศ รังควัต. (2556, เมษายน – มิถุนายน). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน : กรณีศึกษา บ้านทาป่าเปา ตำบลทาปลาดุก อำาเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 36(2) : 245 – 260.
ชนกพร ไผทสิทธิกุล. (2554). การอนุรักษ์ชุมชนและสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ริมแม่น้ำกก จังหวัดเชียงราย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พัชรนันท์ ภูกาบิน และคณะ. (2551). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น : กรณีศึกษาประเพณีสืบชะตาแม่น้ำจัน ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. ค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2558 จาก http://www.culture.go.th/research/north/51_1.html
วิชัย กิจมี. (2550). กระบวนการเรียนรู้กับศักยภาพของชุมชนในการจัดการที่ดินร่วมกันในลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมเกียรติ มีธรรม. (2558). ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อปฏิรูปการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน. ค้นเมื่อ 1 กรกฏาคม 2558 จาก http://www.orphya.org/index.php/th/features
สามารถ ใจเตี้ย. (2559, เมษายน – มิถุนายน). ปัจจัยทำนายการใช้วัฒนธรรมสุขภาพเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 22(2) : 150 – 158.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน. (2556). การเลี้ยงผีขุนน้ำ. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2558 จาก http://province.m-culture.go.th/lamphun/office/pdf8.pdf
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการแพทย์พื้นบ้าน. (2544). โครงการสังคายนาองค์ความรู้ “หมอเมือง” เพื่อพัฒนาระบบและตำราอ้างอิงของการแพทย์พื้นบ้านล้านนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. (2555). การช้างเผือก. ค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2558 จาก http://www.mculture.in.th/moc_new/album/การแห่ช้างเผือก/
Juergen, G. (2011, November). Integrative freshwater ecology and biodiversity conservation. Ecological Indicators. 11(6): 1507 – 1516.