การบูรณาการองค์ประกอบวัฒนธรรมองค์กรเพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้ถูกคุมความประพฤติของสำนักงานคุมประพฤติในภาคอีสาน

Main Article Content

ปฏิมาพรรณ สัตยธีรานนท์
บุญสม ยอดมาลี
สมชาย วรรณลุ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีความมุ่งหมาย 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรมองค์กรในการแก้ไขฟื้นฟูผู้ถูกคุมความประพฤติของสำนักงานคุมประพฤติในภาคอีสาน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของวัฒนธรรมองค์กรในการแก้ไขฟื้นฟูผู้ถูกคุมความประพฤติของสำนักงานคุมประพฤติในภาคอีสาน 3) เพื่อบูรณาการองค์ประกอบวัฒนธรรมองค์กรเพื่อแก้ไขและฟื้นฟูผู้ถูกคุมความประพฤติของสำนักงานคุมประพฤติในภาคอีสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแนวทางสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันสำนักงานคุมประพฤติในภาคอีสาน ได้แก่ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น และมหาสารคาม มีการจัดกิจกรรมแก้ไขฟื้นฟูผู้ถูกคุมความประพฤติ ได้นำวัฒนธรรมองค์กร ประกอบด้วย นิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ และความคุ้มค่าขององค์กร โดยนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมแก้ไขฟื้นฟู ผู้ถูกคุมความประพฤติ ประสบปัญหาสำคัญ คือ พนักงานคุมประพฤติมีน้อยไม่เพียงพอกับปริมาณงาน ทำให้การควบคุมสอดส่องทำได้ไม่ทั่วถึง สำนักงานคุมประพฤติแต่ละแห่งได้นำวัฒนธรรมองค์กรมาบูรณาการ แต่ละงาน โดยนำมาบูรณาการในงานสืบเสาะและพินิจ และการควบคุมสอดส่อง และงานกิจกรรมชุมชน เช่น ระเบียบห้ามพนักงานคุมประพฤติรับทรัพย์สินเงินทองหรือเลี้ยงอาหารเครื่องดื่ม เป็นการนำวัฒนธรรมองค์กรด้านนิติธรรมมาใช้ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต  เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกคุมความประพฤติทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ปฏิมาพรรณ สัตยธีรานนท์

สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

References

Cohen, N. P. & Gobert, J. J. (1999). The Law of Probation and Parole. New York, NY: West Group.
Gevedon, S.L. (2004). A Description of the Leadership Behaviors of the Deans of the Top-ranked Schools of Nursing in the United State Nursing Schools Administration. Retrieved on June 16, 2009 from http://rrrlip.Umi.com/dissertations/fullcit/9127125
Huntington, S.P. and Nelson, .J.M. (1975). No easy choice: Political Participation in Developing Countries. Cambridge, Massachusetts: Taylor Francis.
Malinowski, B. (1944). A Scientific Theory of Culture and Other Essays. Chapel Hill, NC: The University of North Carolina Press.
Pattrasongwon, P. (2005). The Relationship between Work Characteristics and the Organization of Government Officials at the Office of the Basic Education Commission [in Thai]. PhD Thesis, Burapha University, Thailand.
Ponnammin, R. (2009). Christianity, social and cultural change for sustainable life improvement of Isan community. The Social Science, 4(5): pp. 472-477.
Rueantong, N. (1992). Cultural Organization and Its Influence on Work in District Education Offices [in Thai]. Bangkok: Silpakorn University.
Samuels, K. (1998). Rule of law Reform in Post-conflict Countries. In Operational Initiatives and Lessons Learnt. Social Development Papers, Conflict Prevention & Reconstruction Paper.
Satayasomboon, T. (2005). Cultural Organization Desired by the Sirindhorn College of Public Health Khon Kaen, Praboromrajchanok Institute, Ministry of Public Health [in Thai]. PhD Thesis, Burapha University, Thailand.
The Probation Office (2005). A Study of the Risks, Problems and Needs of the System for Segregating Offenders [in Thai]. Research Report. Document number 1, 2005.
Van Zyl Smit, D. (1993). Legal standards and the limits of community sanctions. Eur. J. Crime Crim. L. & Crim Just, 1, 309.
Wanlu, S. (2009). An Application of Isan Local Indigenous Knowledge in Suppression of Social Disputes. The Social Science, 4(5): pp.180-185.
Wilson, R. A. & Brown, R. D. (2009). Humanitarianism and Suffering: The Mobilization of Empathy. Cambridge: Cambridge University Press.