บทบาทนางโขน: สีสันแห่งการแสดงโขน

Main Article Content

พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง “นางโขน : สีสันแห่งการแสดงโขน” เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หลักสูตร ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย เรื่อง “นาฏยลักษณ์ของนางโขน” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นาฏยลักษณ์ของตัวนางในการแสดงโขนเรื่อง รามเกียรติ์ โดยมุ่งเน้นบทบาทนางโขนที่เป็นตัวเอกของเรื่องและของตอน รวมทั้งวิเคราะห์ประวัติศาสตร์และบริบททางสังคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับนาฏยลักษณ์ของตัวนางโขน วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีค้นคว้าข้อมูลจากบทพระราชนิพนธ์และบทโขนฉบับกรมศิลปากร การชมการแสดงโขน การเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ และวิเคราะห์บทบาทความสำคัญของนางโขนที่มีต่อการแสดงโขน ผลการวิจัยพบว่า บทบาทนางโขนเป็นตัวสร้างสีสันให้แก่ การแสดงโขน 5 ประการ ได้แก่ 1) ผู้จุดชนวนปัญหา 2) ผู้ช่วยคลี่คลายปมปัญหา 3) ผู้ผ่อนคลายภาวะสงคราม 4) ผู้สร้างสุนทรียรสทางการแสดง และ 5) ผู้เสริมบารมีบุรุษเพศ บทบาทนางโขนจึงเป็น“ตัวชูโรง” ที่เสริมเรื่อง สร้างบรรยากาศและให้อรรถรสให้แก่การแสดงโขนของไทยให้สนุกสนานชวนติดตามยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ

ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

กรมศิลปากร. (2556). โขน อัจฉริยนาฏกรรมสยาม. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้ง.
_______. (2540). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ศิลปาบรรณาคาร.
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2534). นิทรรศการพิเศษ รามเกียรติ์ในศิลปะและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้ง.
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. (2553). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ และบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์. กรุงเทพมหานคร : บรรณกิจ.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2541). สตรีในคัมภีร์ตะวันออก. กรุงเทพมหานคร : โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หรรษา ติ่งสุวรรณ. (2548). บทบาทสตรีในรามเกียรติ์ : ศึกษาเปรียบเทียบนางสีดาของอินเดียและไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Yupho, D. (1963). The Khon and Lakon. Bangkok : The Department of Fine Arts.