จิตรกรรมรูปผู้หญิงแบบศิลปะเหนือจริง

Main Article Content

ประภาส ไชยเขตร
พีระพงษ์ กุลพิศาล
โชดก เก่งเขตรกิจ
นิโรจน์ จรุงจิตวิทวัส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมรูปผู้หญิงแบบศิลปะเหนือจริงในประเด็น เนื้อหา ชุดสี เทคนิคการระบายสี รูปแบบการตัดทอน และการจัดภาพ 2) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม เรื่องรูปผู้หญิงแบบศิลปะเหนือจริงด้วยสีอะคริลิกบนผ้าใบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ภาพจิตรกรรมรูปผู้หญิงแบบศิลปะเหนือจริง คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากศิลปินต่างประเทศที่กล่าวถึงในงานวิจัย โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการศึกษาค้นคว้าจากตำรา เอกสาร และสื่อออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์ตารางกริด แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และผลงานสร้างสรรค์ของผู้วิจัย เก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะโดยใช้เทคนิคเดลฟายประยุกต์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะภาพจิตรกรรมรูปผู้หญิงแบบศิลปะเหนือจริง ประเด็นเนื้อหาพบว่า เนื้อหาผู้หญิงกับจินตนาการในสิ่งลี้ลับชวนฝันใช้ในระดับมาก รองลงมาผู้หญิงกับธรรมชาติ และผู้หญิงกับวัตถุสิ่งของและเครื่องจักรตามลำดับ ประเด็นชุดสีพบว่า สีที่ใช้มากที่สุด ได้แก่ สีขาว รองลงมาคือ สีน้ำตาล สีฟ้า สีเทา สีน้ำเงิน สีดำ สีแดง สีเหลือง สีม่วง สีเขียวและสีส้ม ประเด็นเทคนิคการระบายสีพบว่า การระบายสีแบบเรียบกลมกลืนใช้มากที่สุด รองลงมาเป็นการระบายสีผสมการกดและพิมพ์ ประเด็นรูปแบบการตัดทอน ตัดทอนเป็นรูปทรงโค้งมากที่สุด รองลงมาคือรูปทรงอิสระ วิธีการตัดทอนที่พบมากที่สุด คือ การเชื่อม รองลงมาคือการหด ประเด็นการจัดภาพพบว่า การจัดภาพแบบซ้าย-ขวาเท่ากันโดยความรู้สึกใช้มากที่สุด และมีจุดนำสายตา

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ประภาส ไชยเขตร

สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

References

กนกพรรณ เถาทอง. (2545). กรณีศึกษาผลงานจิตรกรรมของศิลปินกลุ่มเซอร์เรียลิสม์. ปริญญานิพนธ์. ศป.ม.ทัศนศิลป์:ศิลปะสมัยใหม่. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2543). การวิจัยทางศิลปะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
“น.ณ.ปากน้ำ ฟื้นหลังศิลปินละแวกหน้าพระลาน” ใน โลกหนังสือ ป.3 ฉ.7 เมษายน 2523.
บุศรินทร์ คำหุ่ง. (2545). ประวัติศาสตร์สากล. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
สดชื่น ชัยประสาธน์. (2539). จิตกรรมและวรรณกรรมแนวเซอร์เรียลิสม์ในประเทศไทย 2507-2527. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
อัฐพร นิมมาลัยแก้ว. (2548). สาระแห่งการเปลี่ยนแปลงของชีวิต. สาขาวิชาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.