การบริหารการเงินชุมชนระดับดีเด่น บ้านเหล่าใหญ่ ตำบลวัฒนา อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารการเงินชุมชนระดับดีเด่นของบ้านเหล่าใหญ่ ตำบลวัฒนา อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก 11 คน ผลการวิจัยพบว่า การบริหารการเงินชุมชนบ้านเหล่าใหญ่ ตำบลวัฒนา อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร เป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนระดับดีเด่นแห่งแรกของจังหวัดสกลนคร มีการบริหารการเงินชุมชนเป็น 2 ลักษณะ คือ การบริหารที่เป็นไปตามกรอบนโยบายภาครัฐโดยรวมกลุ่มกองทุนการเงินต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้ามาเป็นสมาชิกของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เรียกว่า การบริหารการเงินชุมชนแบบบูรณาการ และการบริหารเป็นไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน เรียกว่า การบริหารการเงินชุมชนเชิงสถานการณ์ ซึ่งการบริหารการเงินชุมชนเชิงสถานการณ์ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ การบริหารการเงินชุมชนเชิงสถานการณ์ด้านการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน และการบริหารการเงินชุมชนเชิงสถานการณ์ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
strength of foundation for ASEAN. Mahasarakham: Mahasarakham Rajabhat University. [in Thai]
Bernard, H.R. (1994). Research methods in anthropology: Qualitative and quantitative approaches (2nd ed.). Walnut
Creek, CA: Altamira.
Department of community development. (2009). Manual of establishment of community funding institution. Bangkok:
Ministry of Interior. [in Thai]
________. (2014). Establishment of Financial Institution of Community in the desired manner. Bangkok: Ministry of
Interior. [in Thai]
Department of Community Development. (2017). Development indicators of financial institution of community.
Bangkok: Ministry of Interior. [in Thai]
Fiedler, F. E. (1967). A theory of leadership effectiveness. Retrieved on 1 October 2017 from https://pure.tue.nl
Kamchua, N. (2014). The success of Ban Wangpha community financial institutions in Thungtamsao Sub-district, Hatyai
District, Songkhla Province. Khonkaen: Khonkaen University. [in Thai]
Kungwon, S. (2009). Appropriate management of community financial institute. Doctor of Philosophy in Administrative
Science, Maejo University. [in Thai]
Pakdeewut, J. (2013). The features of an effective and successful community financial institution. Doctoral dissertation,
Philosophy Program in Integral Development Studies, Faculty of Management Science, Ubon Ratchathani: Ubon
Ratchathani University. [in Thai]
Tasakhon, P. (December 5, 2017). Community development office, SakonNakhon Province. Interview. [in Thai]
Tongburi, P. (2015). Strong community financial organization: Case study of Tharae
Union credit union cooperative, Tharae Sub-district, Muang District,
Sakon Nakhon Province. Sakon Nakhon: Sakon Nakhon Rajabhat University. [in Thai]