บทบาทความเป็นพ่อในนวนิยายไทยร่วมสมัย

Main Article Content

สุกัญญา ขลิบเงิน
วรวรรธน์ ศรียาภัย
พรธาดา สุวัธนวนิช
กัลยา กุลสุวรรณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาท พฤติกรรม และความหลากหลายของความเป็นพ่อในนวนิยายไทยร่วมสมัย ข้อมูลที่ใช้ คือ นวนิยายไทยร่วมสมัย 16 เรื่อง โดยใช้กรอบแนวคิดบทบาท บุคลิกภาพ นวนิยายกับสังคม และบทบาทพ่อตามมิติโครงสร้างสังคมและวัฒนธรรม ผลการวิจัยบทบาทความเป็นพ่อและพฤติกรรมใน   นวนิยายไทยร่วมสมัย พบว่า มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพ่อที่แสดงบทบาทตามความคาดหวังของสังคม และกลุ่มพ่อที่แสดงบทบาทขัดแย้งกับความคาดหวังของสังคม ส่วนบทบาทความเป็นพ่อตามมิติโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม พบว่า พ่อในสังคมชนบทและสังคมเมืองระดับชนชั้นกลาง ความหลากหลายความเป็นพ่อในนวนิยายไทยร่วมสมัย คือ บทบาทความเป็นพ่อในช่วง พ.ศ. 2515-2525 นำเสนอคุณลักษณะการเป็นพ่อที่ดีบทบาทความเป็นพ่อใน พ.ศ. 2526-2536 นำเสนอความเป็นพ่อในสังคมแห่งการแข่งขัน บทบาทความเป็นพ่อในช่วง พ.ศ. 2537-2547 นำเสนอความเป็นพ่อที่ไม่เป็นไปตามแบบฉบับ บทบาทความเป็นพ่อในช่วง พ.ศ. 2548-2558 นำเสนอการยอมรับความหลากหลายของความเป็นพ่อที่ต่างกัน ทัศนะความเป็นพ่อของนักเขียนชาย พบว่า เป็นแบบอย่างของการรักวัฒนธรรมท้องถิ่น มีอำนาจ และมีความเป็นผู้นำครอบครัว ทัศนะความเป็นพ่อของนักเขียนหญิง พบว่า พ่อเป็นผู้เสียสละและให้ความสำคัญกับครอบครัว ใช้อำนาจของผู้ชายและไม่รับผิดชอบต่อครอบครัว รักอุดมการณ์แต่ไม่ให้ความสำคัญกับครอบครัว และต้องยอมรับบทบาทที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Adulyapichet, A. (2001). Status and role of Siamese women and men in the past: a case study from Khun. Master of Arts (Anthropology), Silpakorn University. [in Thai]

Allport, Gordon W. (2009). Pattern and growth in personality. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Bowlby, J. (1986). Citation classic: Maternal care and mental health. Retrieved on November 15, 2011 from https://www.garfield.library

Bunprasert, C. (2011). Violated lives: Narratives from LGBTIQs and international human rights law. Bangkok: Thiranat Foundation Kanchanaauksorn and the Fah Si rung Association of Thailand. [in Thai]

Buriphakdi et al. (1983). Father in Thai society. Bangkok: Father's Day Organizing Committee National Year 1982 and 1983. [in Thai]

Chanthamat, T. (2008). The role of father characters in Thai literature. Master of Arts (Thai language), Silpakorn University. [in Thai]

Jorntes, S. (2006). An analysis of the family role in characters in V.Vinicchayakul’s novels. Master of Arts (Thai language), Silpakorn University. [in Thai]

Kitkaseadkul, J. (2000). Father’s role in Krisana Asoksin’s novel. Master of Education, (Thai language), Srinkharinwirot University. [in Thai]

Kaewkangwan, S. (2011). Theory of personality psychology (16th ed.). Bangkok: Mor Chao Baan. [in Thai]

Louiyapong, K. (2001). Family and relationships that never change. Women Studies 2, Women and issues. Bangkok: Arunkanpim. [in Thai]

Louiyapong, K. & Chitchamnong, D. (2011). "A brief analysis of Thai society between B.E.2520-2547". Journal of the Faculty of Humanities,
3(1 January-June), pp.73-95. [in Thai]

Limanonta, B. (2001). Roles and responsibilities of men to women and girls. In Gender roles, status of women. Bangkok: College of Population Studies, Chulalongkorn. [in Thai]

Nakwad, S. (1998). An analysis of male characters in Prapatsorn Sevikul’ novels. Master of Education, (Thai language), Srinkharinwirot University. [in Thai]

Prasannam, N. (2012). “My father is bisexual” problems of masculinity and fatherhood in the novel “Phra Chan See Rung (Rainbow Moon)”. Journal of Arts, 12(2), pp.63-94. [in Thai]

Sajjaphan, R. (2013). Contemporary literature (18th ed.). Bangkok: Publisher Ramkhamhaeng University. [in Thai]

Setho, R. (1989). Social structure and culture (2nd ed.). Bangkok: Thai Wattana Panich. [in Thai]

Thongprasert, S. (1976). The evolution of Thai fiction content from 2476 to 2517. Thesis Master of Education. (Thai language), Srinakharinwirot University. Pattani. [in Thai]

Wikipedia Foundation Free encyclopedia. (2017). List of Thai Prime Ministers. Retrieved on November 12, 2011 from https://th.wikipedia.org/wiki/