วิถีชุมชนกับความหลากหลายของพืชสมุนไพรในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนบ้านเชียงเหียน 2) เพื่อศึกษาความหลากหลายของพืชสมุนไพรในชุมชนบ้านเชียงเหียน และ 3) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตกับความหลากหลายของพืชสมุนไพรในชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูลหลักมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหมอพื้นบ้าน จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้รู้จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนบ้านเชียงเหียนมีมรดกทางวัฒนธรรม คือ ตำนานและโบราณวัตถุ นอกจากนี้ยังดำเนินชีวิตเกี่ยวกับประเพณีพิธีกรรมและความเชื่อจะเห็นได้จากประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีการเลี้ยงเจ้าปู่ตาและแม่ย่านาง ปัจจุบันชาวบ้านเชียงเหียงมีวิถีชีวิตเกี่ยวกับศาสนาพุทธโดยรวมกลุ่มกันสวดมนต์ภาวนาที่วัดโพธิ์ศรีเป็นประจำ และชาวบ้านเชียงเหียงบางกลุ่มมีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพเสริม คือ การเป็นหมอยาสมุนไพร นับว่าเป็นหลักในการดำเนินชีวิตของชาวบ้านที่สมควรจะอนุรักษ์ ส่งเสริมและสืบทอดไปสู่ลูกหลานต่อไป 2) ความหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพรในชุมชนบ้านเชียงเหียน พบว่า มีพืชสมุนไพรทั้งหมด 160 ชนิด พืชสมุนไพรที่พบมากที่สุด คือ ไม้ยืนต้น จำนวน 62 ชนิด และ 3) วิถีชุมชนกับความหลากหลายของพืชสมุนไพรในชุมชนบ้านเชียงเหียน พบว่า ด้านความเชื่อและขนบธรรมเนียม ตั้งแต่การเริ่มเก็บสมุนไพร การผลิตสมุนไพร การรักษาและการจำหน่าย ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งอาชีพที่เกี่ยวข้องกับพืชสมุนไพรของเชียงเหียนกระจายไปสู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ส่งผลให้หมอยาสมุนไพรมีรายได้เฉลี่ยสุทธิปีละ 120,000 บาทต่อคน และด้านสังคม ซึ่งสมุนไพรของชุมชนเกี่ยวข้องกับการบำบัดอาการป่วยพื้นฐานของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญในด้านการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขและชุมชนเพื่อให้การรักษาโรคแผนปัจจุบัน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Mahasarakham province. Bangkok: Research Information Repository. [in Thai]
Chanaboon, T & Thongnetr, W. (2009). Local tree planting, forest restoration, community medicine. Bangkok: Usa Printing Co., Ltd. [in Thai]
Dhammanando (Ragsapagdee), S. (2013). A study of beliefs in the burial ground tradition of Ban Chiang Hian villagers,
Mueang district, Mahasarakham province. (Master’s thesis). Mahachulalongkornrajvidayalaya University. [in Thai]
Gunsuwan, P. (2011). Processes of transferring local wisdom on management of medicinal herbs diversity for traditional
healing of Hmong community: A case study of Khun Chang Khian village, Chang Phueak sub - district, Mueang
Chiang Mai district. (Master’s thesis). Chiangmai University. [in Thai]
Intusaitrakun, C. (2009). Thai herbs medicine. Bangkok: Poompanya Press Co., Ltd. [in Thai]
Krairach, T. (2006). Cultural dimension for indigenous self – care along of among ethnic in northeast. (Doctor of
Philosophy Thesis). Mahasarakham University. [in Thai]
Maisuporn, P. (2008). Public health and spa business. Public Health Law Administration Center, Department of Health.
[in Thai]