การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาการบัญชีจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชาการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์
คำสำคัญ:
การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชาการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ 2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการสอนโดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐานในรายวิชาการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ และ 3) พัฒนาบทเรียนของตำรารายวิชาการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง คือนักศึกษาสาขาการบัญชีชั้นปีที่ 2 หลักสูตรเทียบโอนและชั้นปีที่ 3 หลักสูตร 4 ปีที่ลงเรียนในรายวิชาการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก ภาคการศึกษาที่ 2/2563 จำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจที่มีดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.73-0.90 และแบบประเมินคุณภาพของตำราเรียนซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.70-0.95 ค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.32-0.84 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.20-0.70 และค่าความเชื่อได้โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนด้วยบทเรียนตำรารายวิชาการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ โดยการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) นักศึกษามีความพึงพอใจในการจัดสอนด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในภาพรวมมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.67) และ 3) การพัฒนาตำราเรียนจากการวัดค่าคุณภาพของบทเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.48, S.D. = 0.32) และค่าประสิทธิภาพE1/E2 = 83.67/82.54 ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นต้นแบบของแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบยุทธศาสตร์แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 และตอบโจทย์การสอนในศตวรรษที่ 21
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.