การศึกษาทัศนคติ และพฤติกรรมของนักศึกษาต่อการเรียนออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ ถาบุตร คณะครุศาสตร์ มรภ.อุดรธานี

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, พฤติกรรม, การเรียนออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมของนักศึกษาต่อการเรียนออนไลน์  วิชาการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร ด้วยโปรแกรม Google Meet โปรแกรม Zoom และโปรแกรม Google classroom  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาออกแบบและพัฒนาหลักสูตร กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2563 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1) นักศึกษามีทัศนคติต่อการเรียนออนไลน์ ในระดับดี และ 2) นักศึกษา  มีพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ในระดับดี

References

เกตุม สระบุรินทร์ ศราวุฒิ แย้มดี และณัฏฐวัฒน์ ไชยโพธ. (2558). ทัศนคติและพฤติกรรมของนักเรียนต่อการใช้ บทเรียนออนไลน์ด้วยโปรแกรม Moodle กรณีศึกษาโรงเรียน มัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. รายงานการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 “Speed up Research towards World Class University”, วันที่ 25 มีนาคม 2558. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

จรรยา คนใหญ่, ฉัตรสุดา กากานยันต์, วิทยา วาโย และอภิรดี เจริญนุกูล.(2563). วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. ปีที่ 14 (ฉบับที่ 34) พฤษภาคม.-สิงหาคม ,285 – 298.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

มณฑิรา คำรงมณี. (2556). การสอนออนไลน์ จากกระบวนการและกลยุทธ์สู่อุปสรรคและแนว ทางแก้ไข: กรณีศึกษาจากโครงการความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง 2012. ภาษาปริทัศน์. ปีพุทธศักราช 2556 (ฉบับ 28) ,76 – 88.

วิจารณ์ พานิช.(2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.(2562). นโยบายและยุทธศาสตร์ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ.

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด - 19 : กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษารายวิชาการเขียน โปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทรรศน์,22(2), 203 – 213.

สุทธิโสพรรณ ช่วยวงศ์ญาติ. (2563, สิงหาคม 17). Hybrid Learning คำตอบการเรียนรู้ในอนาคต.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, 1.

อุดมศิลป์ ปิ่นสุข. (2559,สิงหาคม 28). วิจัยชั้นเรียน สมาธิของชั้นเรียน. Goto Know,1.

Landry Lauren. (2014). Online Learning is just as Effective as Traditional Education, According to a New MIT Study. [online].Available https://www.americaninno. com/ boston/ mit-study-how-do-online-courses-compare-to-traditional-learning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27