ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนงานของพนักงานขายเครื่องสำอางภายในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณัฐสินี วิจารย์
สุชาติ เหล่าปรีดา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนงานของพนักงานขายเครื่องสำอางภายในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ พนักงานขายเครื่องสำอาง ที่ทำงานภายในห้างสรรพสินค้า พนักงานงานขายประจำห้างและพนักงานขายรายเดือน เป็นพนักงานขายอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง 2 ตัวแปร และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 29-35 ปี มีตำแหน่งเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านความงาม (Beauty Expert) / ที่ปรึกษาด้านความงาม (Beauty Advisor)  มีการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด ระยะเวลาการปฏิบัติงาน 1-3 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 15,001 – 20,000 บาท โดยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ตำแหน่งงาน ระดับการศึกษา และสถานภาพ ที่ต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และปัจจัยจูงใจในการทำงานมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนงานของพนักงานขายเครื่องสำอางภายในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยจูงใจ ประกอบด้วย ด้านความสำเร็จของงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ และปัจจัยค้ำจุน ประกอบด้วย ด้านเงินเดือน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้างาน ด้านนโยบายและการบริหารขององค์กร และด้านความมั่นคงในงาน 

Downloads

Article Details

How to Cite
วิจารย์ ณ., & เหล่าปรีดา ส. (2025). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนงานของพนักงานขายเครื่องสำอางภายในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยสังคมศิลปาสาร, 7(1), 58–71. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsa/article/view/278401
บท
บทความวิจัย

References

กัญญาภัค พิพัฒน์เอี่ยมทอง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการลาออกของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในจังหวัดนครปฐม. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 20(2), 145-147.

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2567). บทความผลกระทบของ Covid-19 ต่อเศรษฐกิจไทย และคนทำธุรกิจ SME 2567. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/covid19-newnormal-with-sme

ศศิ อ่วมเพ็ง. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานระดับบังคับบัญชาสำนักงานบัญชีกลาง บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). [ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:94406

สุภาพร เศวตเวช. (2561). ปัจจัยการฝังตรึงในงานที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานขายเครื่องสำอางในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าวิชาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง].

อังคณา ไวน์ส. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการตัดสินใจลาออก ของพนักงานโรงงานทอผ้าผืน อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง. [ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/372/1/gs592130031.pdf

Cochran, G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons, Inc.

Cronbach, L. (1970). Essential of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Herzberg, F. (1985). Psychology of work behavior. New York : The Dorsey.

March, J. and Herbert, S. (1958). Organizations Behavior. Oxford, England: Wiley.