ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการออมเงินของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

รุ่งนะภา สรวงษ์
สุชาติ เหล่าปรีดา

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการออมเงินของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจาก 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง 2 ตัวแปร (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis)


        ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัวต่อเดือน อาชีพ และความถี่ในการออมเงิน ไม่มีผลต่อตัดสินใจในการออมเงินของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ในขณะที่สังกัดของมหาวิทยาลัยราชภัฏส่งผลต่อการตัดสินใจในการออมเงินที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด โดยเฉพาะ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) และด้านกายภาพ (Physical) ส่งผลต่อการออมเงินของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ข้อเสนอแนะคือ ผู้ให้บริการด้านการออมเงินควรออกแบบผลิตภัณฑ์ การตลาด และสถานที่ เพื่อให้เหมาะกับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ให้มากขึ้น รวมถึงควรมีนโยบายหรือมาตรการที่เอื้อให้คนรุ่นใหม่เกิดการออมเงินและการวางแผนเพื่อความมั่นคงทางการเงินในอนาคต

Downloads

Article Details

How to Cite
สรวงษ์ ร., & เหล่าปรีดา ส. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการออมเงินของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมนุษยสังคมศิลปาสาร, 6(2), 39–59. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsa/article/view/276971
บท
บทความวิจัย

References

จิตตกานต์ หลักอาริยะ และ พรพันธุ์ เขมคุณาศัย. (2563). สังเคราะห์องค์ความรู้เรื่อง “วัฒนธรรมบริโภคนิยม” จากงานวิจัยไทยในรอบ 22 ปี (พ.ศ. 2538-พ.ศ. 2560). วารสารอินทนิลทักษิณสาร, 15(1), 9-22.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2567). อัตราดอกเบี้ยนโยบาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 จาก https://www.bot.or.th/th/our-roles/monetary-policy/mpc-publication/policy-interest-rate.html

ปทิตตา จำปาเต็ม และ บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจออมเงินของ GEN Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(3), 259 – 276.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2566). จำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำไตรมาส 4/2566. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2567 จาก http://www.plan.cmru.ac.th/dataset/std.php

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. (2566). จำนวนนักศึกษาปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2567 จาก https://www.aru.ac.th/regis/?page=intro&subpage=intro_stat

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. (2566). รายงานจำนวนนักศึกษา ประจำภาคเรียนที่ 2/2566. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2567 จาก http://regis.skru.ac.th/RegisWebH5/informationPage-05.php

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2566). UDRU – จำนวนนักศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2567 จาก https://portal7.udru.ac.th/web/info/info_student.php

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. (2566). ข้อมูลสถิตินักศึกษา ปีการศึกษา 2566. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2567 จาก http://www.apr.ubru.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=21:2013-11-26-08-48-23&catid=23:2013-11-26-08-44-45&Itemid=164

เหมือนฝัน โกมาลย์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมเงินของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2548). หลักการทำวิจัยและวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2566). รายงานติดตามภาวะเงินฝากและการออม เดือนมีนาคม 2567. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 จาก https://www.gsbresearch.or.th/published-works/economic-and-business-research/12676/

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, นฤมล จิตรเอื้อ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). ปัจจัยแรงจูงใจในการออม สภาพแวดล้อมในการออม และทัศนคติการออมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของนักศึกษา วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2), 26 – 41.

Burton, G. and Thakur, M. (2016). Management Today: Principles and Practice. 9th edition. New Delhi : McGraw-Hill.

Kotler, P. (2004). Marketing Management. 11th edition. New Jersey: Pearson Education Inc.

Kumnerdpetch, K. (2022). Factors Affecting Savings of Gen Y in Bangkok. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 15(1), 113 – 136. doi : https://doi.org/10.14456/jcdr-hs.2022.10