การสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะการแสดงชุด “ต๋ามเตียนประทีปปู่จาพุทธธรรม” ผ่านการศึกษาประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา

Main Article Content

กฤติยา จันทรัตนา
พันญารัตน์ กิติราช
สิปปกร ขจรกุลจรรยา

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะการแสดงชุด “ต๋ามเตียนประทีปปู่จาพุทธธรรม” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาของประเพณียี่เป็ง อัตลักษณ์ และวิถีชีวิตของชาวล้านนา 2) สร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ชุด “ต๋ามเตียนประทีปปู่จาพุทธธรรม” ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะการแสดง ประกอบไปด้วยทฤษฎีหลัก คือ ทฤษฎีนาฏยประดิษฐ์ และแนวคิด คือ 1) แนวคิดประวัติศาสตร์และกระบวนการสร้างอัตลักษณ์วัฒนธรรมพระพุทธศาสนาแบบล้านนา จากข้อมูลที่ได้ศึกษาแนวคิดประวัติศาสตร์และกระบวนการสร้างอัตลักษณ์วัฒนธรรม โดยศึกษาประเพณีเก่าแก่ของชาวล้านนาที่ได้สืบทอดแนวคิดการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีต เพราะความเชื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และได้เผยแผ่มาถึงประเทศไทยหรืออาณาจักรต่างๆ โดยศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงาน 2) แนวคิดการคิดการออกแบบ และการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์ จากการศึกษารูปแบบ กลวิธีของนาฏศิลป์ที่แสดงโดยผู้แสดงเดี่ยวหรือหลายคน ศึกษาถึงกระบวนการแปรแถว การจัดแถว การกำหนดดนตรี เพลง เครื่องแต่งกาย ฉาก และส่วนประกอบอื่นๆ ที่สำคัญ และนำมาสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะการแสดง


จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากครูภูมิปัญญา คณะผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะการแสดงชุด “ต๋ามเตียนประทีปปู่จาพุทธธรรม” ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงศิลปะการฟ้อนล้านนาแบบใหม่ ที่ผสมผสานการฟ้อนตามแบบแผนดั้งเดิม และยังคงเอกลักษณ์ของการฟ้อนล้านนาตามแบบแผนเดิมไว้ ในชุดการแสดงยังแทรกเรื่องหลักธรรมะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเพณียี่เป็งของล้านนา นำเสนอการฟ้อนโดยใช้โคมแบบล้านนาเป็นหลัก เลือกใช้ผ้าที่มีลวดลายที่บ่งบอกถึงความเป็นภาคเหนือ คณะผู้วิจัยใช้ดนตรีที่สื่ออารมณ์ถึงวิถีชีวิต และการเข้าวัดฟังธรรม การที่นำแสงไฟจากธรรมหลวงเข้าสู่โคมไฟและ ดนตรีที่สื่อให้เห็นถึงการเฉลิมฉลอง ขบวนช่างฟ้อนในงานประเพณียี่เป็ง ใช้ภาษาท้องถิ่นของภาคเหนือ เพื่อให้ผู้ชมได้อรรถรสในการชม

Downloads

Article Details

How to Cite
จันทรัตนา ก., กิติราช พ., & ขจรกุลจรรยา ส. (2025). การสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะการแสดงชุด “ต๋ามเตียนประทีปปู่จาพุทธธรรม” ผ่านการศึกษาประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา. วารสารมนุษยสังคมศิลปาสาร, 7(1), 34–45. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsa/article/view/274761
บท
บทความวิจัย

References

เชษฐ์ นิมมาทพัฒน์. (2562). วิถีวัฒนธรรมชาวพุทธกับการสืบสานประเพณีการเทศน์มหาชาติในล้านนา. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 10(2), 532-544.

พระครูรัตนชัยธรรม. (2562). หมู่บ้านโคมยี่เป็ง เมืองสาตรหลวง. เชียงใหม่: ณัฐพลการพิมพ์.

พระครูสถิตธรรมาภินันท์. (2561). ศึกษาหลักพระพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณียี่เป็งของล้านนา. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. ฐานข้อมูลวิจัย (Thailis).

พีรพงศ์ เสนไสย. (2547). นาฏยประดิษฐ์. มหาสารคาม: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มณี พยอมยงค์. (2547). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.

สงวน โชติสุขรัตน์. (2511). ประเพณีไทย ภาคเหนือ. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.

อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. (2549). แนวคิดทฤษฎีการฟ้อนล้านนาแบบใหม่. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. ฐานข้อมูลวิจัย (Thailis).

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2542). “อานิสงส์ผางประทีส/ประทีป” ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.