คน ช้าง ป่า : ความต้องการของชุมชนต่อการจัดการปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ กรณีศึกษาบ้านขามเปี้ย อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนในต่อการจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคน ช้าง ป่า ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ กรณีศึกษาบ้านขามเปี้ย อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านบ้านขามเปี้ย ประชาชนในชุมชน ผู้นำที่ไม่เป็นทางการ ปราชญ์ชาวบ้านกลุ่มอาชีพต่างๆในชุมชน เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และครูโรงเรียนบ้านขามเปี้ย โดยมีการคัดเลือกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใชในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ (Interview form) ซึ่งแบบสัมภาษณ์ผู้วิจัยได้นำเครื่องมือของ โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ (2555) ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือวิถีชุมชน 7 ชิ้น ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นเชิงพรรณนา หลังจากรวบรวมข้อมูลแล้วจะนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่และนำมาสังเคราะห์จากเนื้อหาที่ได้ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) จากบันทึกการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม พบว่า (1). สภาพปัญหาที่ชุมชนอยากให้เร่งดำเนินการมากที่สุด คือ เรื่องช้างป่าที่มาบุกรุกพื้นที่ทำการเกษตรทำลายนาข้าวและสวนยางพารา และบางครั้งทำลายทรัพย์สินและชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งสาเหตุที่เป็นปัจจัยหลักประกอบด้วย การเพิ่มจำนวนของช้างป่าภูวัว การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตร และที่อยู่อาศัยของช้างถูกทำลายแหล่งอาหารและแหล่งน้ำไม่พอเพียงต่อความต้องการของช้างป่า ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางและรูปแบบในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน (2). สภาพความต้องการของชุมชนบ้านขามเปี้ย มีความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ไขปัญหาช้างป่าทำลายพืชผลทางการเกษตร การจัดการเชิงพื้นที่ที่มีรูปแบบในการแก้ปัญหาอย่างจริงจังและยั่งยืน โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อรับฟังความคิดเห็น ประเมินสถานการณ์ และถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของชุมชนในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า และขยายผลการดำเนินงานไปสู่ภาครัฐ นักวิจัย และภาคีเครือข่าย ก่อนนำข้อมูลทั้งหมดมาสังเคราะห์เป็นข้อเสนอในขั้นตอนต่อไป เพื่อการจัดการและลดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าบนฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน
Downloads
Article Details
References
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2561). คู่มือการเสริมโป่งช้าง. กรุงเทพฯ: สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า. (2557). สถานภาพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในประเทศไทย : โครงการศึกษาการแพร่กระจายความชุกชุมและประชากรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่หายาก ใกล้สูญพันธุ์ และมีความสำคัญในระบบนิเวศ. กรุงเทพฯ: สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ. (2555). วิถีชุมชนคู่มือการเรียนรู้ที่ทำให้งานชุมชนง่ายได้ผลและสนุก.นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
นาย ก. นามสมมุติ. (2561, 10 มีนาคม). ประชาชน. สัมภาษณ์.
รัชนี โชคเจริญ. (2555). นิเวศวิทยาของช้างป่า (Elephas maximus Linnaeus, 1758) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัวจังหวัดบึงกาฬ. [ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
ส่วนสารสนเทศด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2557). แนวเขตพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว บ้านขามเปี้ย อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ http://www.dnp.go.th/wildlife_it
Barnes, R.F.W. (1996). The conflict Between humans and elephants in the central African Forests. Mammal Review, 26, 67-80.
Dickman, A. J. (2010). Complexities of Conflict: The Importance of Considering Social Factors for Effectively Resolving Human-Wildlife Conflict. Animal Conservation, 13, 458-466.
Graham, A. D. (1973). The Gardeners of Eden. London: Allen & Unwin.
Nelson, A. P., Bidwell & Sillero-Zubiri, C. (2003). A review of humane elephant conflict management strategies. People and Wildlife Initiative. Wildlife London: Conservation Research Unit, Oxford University.
Parker, I.S.C. & Graham, A.D. (1989). Elephant decline: Downward trends in African elephant Distribution and numbers. Parts I & II. International Journal of Environmental Studies, 34, 13-26 & 287-305.
Ville, J.L. (1995). Man and elephant in the Tsavo area of Kenya: an anthropological perspective. Pachyderm, 20, 69-72.