การศึกษาบันทึกเกี่ยวกับอาณาจักรเจนละในเอกสารโบราณจีนสมัยราชวงศ์ถังถึงราชวงศ์หมิง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาที่บันทึกเรื่องราวอาณาจักรเจนละ หรือเจินล่า (真腊) จากเอกสารโบราณจีน ผู้วิจัยใช้แนวคิดการวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงคุณภาพ ร่วมกับสังเคราะห์แนวคิดจากงานวิจัยเรื่องปัญหา และกลวิธีการแปลเอกสารประวัติศาสตร์ภาษาจีนเป็นภาษาไทยเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย แหล่งข้อมูลสำคัญคือพงศาวดาร เอกสารโบราณจีน และหนังสือรวบรวมบันทึกเกี่ยวกับประเทศไทยในเอกสารโบราณจีน รวมทั้งสิ้น 6 รายการ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังถึงราชวงศ์หมิง โดยมีขอบเขตเนื้อหาที่ศึกษา ประกอบด้วยประวัติความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีน บันทึกลักษณะทางกายภาพ วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวเจนละ ผลการวิจัยพบว่าเอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถังเน้นบันทึกเรื่องอาณาเขต และพรมแดนของเจนละเป็นหลัก เอกสารจีนสมัยราชวงศ์ซ่งบันทึกเนื้อหาที่ขยายความจากเอกสารสมัยราชวงศ์ถัง และเริ่มบันทึกสินค้าพื้นเมือง วิถีชีวิตของชาวเจนละ ขนบธรรมเนียมทางสังคมเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ในสมัยราชวงศ์ซ่งเริ่มมีบันทึกของเอกชนหรือกลุ่มบุคคลที่มิได้มาจากสำนักจีนเรียบเรียงขึ้น สมัยราชวงศ์หยวนมีเอกสารโบราณบันทึกขนบธรรมเนียมของอาณาจักรเจนละ เรียบเรียงโดยโจวต๋ากวน โดยเนื้อหาที่บันทึกส่วนใหญ่สอดคล้องกับบันทึกจากเอกสารโบราณจีนสมัยราชวงศ์ซ่งที่กล่าวถึงวิถีชีวิตของชาวเจนละ การทอผ้า เครื่องนุ่งห่ม และความสัมพันธ์กับชาวเซียน เมื่อถึงสมัยราชวงศ์หมิง เนื้อหาเน้นความสัมพันธ์ระหว่างเจนละกับราชสำนักจีนผ่านระบบจิ้มก้อง สะท้อนให้เห็นว่าทั้งเจนละและเซียนหลัวมุ่งแสวงหาการอุปถัมภ์ ช่วยเหลือด้านการค้า และการเมืองจากราชสำนักจีน ประโยชน์ของงานวิจัยนี้คือการรวบรวมข้อมูลในเอกสารโบราณจีนที่กระจัดกระจายให้รวมเป็นเอกภาพ และสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับอาณาจักรเจนละในเอกสารโบราณจีน ตลอดจนช่วยลดช่องว่างทางการศึกษาวิจัยนำไปสู่การเผยแพร่สู่บุคคลทั่วไปได้
Downloads
Article Details
References
กนกพร นุ่มทอง. (2564). การศึกษาปัญหาและกลวิธีการแปลจากภาษาจากเอกสารประวัติศาสตร์ภาษาจีนเป็นภาษาไทย. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 39(2), 31-50.
กรมศิลปากร. (2564). ความสัมพันธ์ไทย - จีนจากเอกสารสมัยราชวงศ์หยวน หมิง ชิง. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
ถางซุ่ยหยาง และอู๋เซิ่งหยาง. (2559). การศึกษาความหมายทางวัฒนธรรมจากตำนานการสถาปนาอาณาจักรฟูนัน. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 19(2), 29-43.
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. (2561). ตามรอยอารยธรรมขอม. กรุงเทพฯ: สยามความรู้.
พิภู บุษบก. (2565). เอกสารจีนสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา. Journal of Arts and Thai Studies, 44(1), 134-145.
ภูเทพ ประภากร. (2566). ละโว้ในเอกสารโบราณจีน: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างละโว้และประเทศจีนในเอกสารโบราณและพงศาวดารจีน. วารสารจีนวิทยา, 17(1), 81-107.
ทรูปลูกปัญญา. (2555). บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2567 จาก https://www.trueplookpanya.com/lite/knowledge/view/31291.
ศุภการ สิริไพศาล และพิภู บุษบก. (2561). รายงานการวิจัย เรื่อง การแปลและศึกษาเอกสารจีนโบราณเกี่ยวกับไทยในบริบทของเส้นทางสายไหม. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2543). เกณฑ์การถ่ายถอดเสียงภาษาจีนแมนดารินด้วยอักขรวิธีไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Dong Zhiwan, ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ และธนนันท์ บุ่นวรรณา. (2565). การอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะซีซา (แพราเซล) และหมู่เกาะหนานซา (สแปรตลี) ในประวัติศาสตร์นิพนธ์จีนช่วงปลายราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1840-1912): ยุคเริ่มต้นกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้. Journal of Politics and Governance, 12(3), 164-187.
Duan Lisheng. (段立生,1999). 泰国帕侬诺石宫遗址和真腊古史补证. 世界历史, (5), 56-63.
Hou Xianrui. (侯献瑞,1986). 论柬埔寨民族的起源. 广西社会科学, 2(3), 286-297.
Huang, Ch. and Yu, D. (黄重言&余定邦, 2016). 中国古籍中有关泰国资料汇编 .北京:北京大学出版社.
Li Hong. (李弘, 2007). 走读周达观《真腊风土记》. 传承视野, 14(11), 45-48.
Shi Fuqiang. (史富强,2002). 论柬埔寨民族起源及扶南王国的产生与发展. 河南大学学报 (社会科学版), 42(6), 56-61.
Yu Donglin. (余冬林, 2013). 试论《真腊风土记》中的女性形象. 九江学院学报(社会科学版). 32(2), 60-63.
Zhou Yueshan. (周玥珊, 2016). 古代中国和柬埔寨海上交流的特点. 南都学坛(人文社会科学学报) , 36(4), 119-120.