การจัดการวิสาหกิจชุมชนในตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการวิสาหกิจชุมชน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการวิสาหกิจชุมชนในตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนในตำบลเกิ้ง จำนวน 219 คน โดยวิธีการคำนวณตามสูตรของทาโร่ ยามาเน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนในตำบลเกิ้ง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการวิสาหกิจชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.55, S.D = 0.42) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน เห็นว่าอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน และอยู่ในระดับน้อย 2 ด้าน โดยเรียงจากน้อยไปหามาก ดังนี้ ด้านการนำ (ค่าเฉลี่ย = 2.95, S.D = 0.46) ด้านการควบคุม (ค่าเฉลี่ย = 2.94, S.D = 0.47) ด้านการจัดองค์กร (ค่าเฉลี่ย = 2.33, S.D = 0.39) และด้านการวางแผน (ค่าเฉลี่ย = 1.98, S.D = 0.34) 2) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการวิสาหกิจชุมชนในตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ด้านการวางแผน ได้แก่ กลุ่มควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ด้านการจัดองค์กร ได้แก่ กลุ่มควรมีการคัดเลือกสมาชิกให้เหมาะสม มีความชำนาญ และประสบการณ์เพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มมีคุณภาพยั่งยืน ด้านการนำ ได้แก่ ผู้นำควรเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง และหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำมาพัฒนาต่อไป ด้านการควบคุม ได้แก่ ควรมีการควบคุมดูแลกลุ่มในการดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบและข้อบังคับ
Downloads
Article Details
References
กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2567). รายงานข้อมูลการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคาม ประจำปี 2567. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 จาก www.sceb.doae.go.th
จิตพนธ์ ชุมเกต. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อประสิทธิภาพการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
ธัชพล ยรรยง, พระมหากิตติ กิตฺติเมธี และพระมหาอนันต์ องฺกุรสิริ. (2562). กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนจังหวัดน่าน. [วิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
ภัทราพร สระศรี. (2559). รูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดสุรินทร์. [งานวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562. เล่ม 136 ตอนที่ 50 ก. 232-237. 16 เมษายน 2562.
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศเรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง. ปฐมบท. 24 ตุลาคม 2565.
วิมลสิริ อินเจริญ. (2564). รูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกไผ่ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).