ผลการเรียนแบบร่วมมือ CIRC เสริมด้วยการสอนอ่านแบบ DR-TA ต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ และเจตคติต่อการเรียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ปัทมานันท์ ปะมะโน
ชาติชาย ม่วงปฐม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของกลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือ CIRC เสริมด้วยการสอนอ่านแบบ DR-TA กับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ และเจตคติต่อการเรียนภาษาไทยหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือ CIRC เสริมด้วยการสอนอ่านแบบ DR-TA กับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ รวมทั้งหมด 70 คน เป็นนักเรียนที่เรียนวิชาภาษาไทยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการเรียนแบบร่วมมือ CIRC เสริมด้วยการสอนอ่านแบบ DR-TA จำนวน 8 แผน 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 8 แผน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ และ 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบทีเป็นกลุ่มแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว   
ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือ CIRC เสริมด้วยการสอนอ่านแบบ DR-TA และนักเรียนที่เรียนแบบปกติ มีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

  2. นักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือ CIRC เสริมด้วยการสอนอ่านแบบ DR-TA มีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและเจตคติต่อการเรียนหลังเรียน สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติ

Downloads

Article Details

How to Cite
ปะมะโน ป., & ม่วงปฐม ช. . (2023). ผลการเรียนแบบร่วมมือ CIRC เสริมด้วยการสอนอ่านแบบ DR-TA ต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ และเจตคติต่อการเรียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมนุษยสังคมศิลปาสาร, 5(1), 48–61. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsa/article/view/272575
บท
บทความวิจัย