The Creative Music Research: The Freedom Pee Pop-cheua for Experimental Music

Main Article Content

ภัทรกร แสงคาร์
วายุ ยานสุวรรณ
อรรถพล สุวศรี
สุรศักดิ์ บาลนคม
ทวีพงษ์ เหลือวิชา
ศุภชัย สุริยุทธ

Abstract

คีตวรรณกรรมวิจัย อิสรภาพผีปอบเชื้อ คณะผู้วิจัยสร้างกรอบความคิดสุนทรียญาณเรื่องราววรรณกรรมและลงพื้นที่วิจัยนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อใช้ในการประกอบสร้างสรรค์คีตวรรณกรรมวิจัยร่วมสมัยนี้ชี้ชัดให้เห็นถึงสุนทรียศาสตร์ความเชื่อเรื่องราวของท้องถิ่นในวัฒนธรรมภาคอีสาน คือ ความงามเชิงความทุกข์ทรมาน ความงามความเศร้าของผีปอบเชื้อ ที่เสียงครวญครางที่อยากจะปลดปล่อยวิญญาณตนเองให้อิสระให้ได้ไปเกิดจากห้วงแห่งทุกข์นี้ คีตวรรณกรรมวิจัยนี้ได้อ้างถึงการเปรียบเทียบสุนทรียศาสตร์เชิงความคิดสองรูปแบบคืออิสรภาพของเสียงและอิสรภาพของความต้องการหลุดพ้นจากการเป็นผีปอบ คณะผู้วิจัยได้นำแนวคิดการสร้างสรรค์ดนตรีทดลอง (Experimental Music) มาสร้างสรรค์เป็นคีตวรรณกรรมวิจัยร่วมสมัยนี้ ใช้หลักการการประพันธ์ตามแนวคิดของ จอห์น เคจ ดังนี้ 1. From 2. Chance determination process 3. People process 4. Contextual process 5. Repetition และ 6. Electronic process


           คีตวรรณกรรมวิจัยอิสรภาพผีปอบเชื้อ มีความยาวทั้งหมด 13. 29 นาที ประกอบด้วย 4 ท่อน แต่ละท่อนทำหน้าที่ในการสร้างบรรยากาศแสดงเรื่องราวของผีปอบจากแรกเริ่มจนจบบทประพันธ์ ท่อนที่ 1 แสดงให้เห็นถึงสุนทรียศาสตร์ความเป็นอีสาน ท่อนที่ 2 การเรียนวิชาอาคมของปอบ เรียนวิชาหลายวิชาจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ท่อนที่ 3 การสู้วิชาอาคมระหว่างพระ ชาวบ้าน กับปอบ ท่อนที่ 4 การเผาผีปอบเพื่อปลดปล่อยดวงวิญญาณปอบให้สู่อิสรภาพและร่วมกระทั้งเสียงดนตรีเองก็ต้องปลดปล่อยจากตัวมันเองเฉกเช่นกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
แสงคาร์ ภ. ., ยานสุวรรณ ว. ., สุวศรี อ. ., บาลนคม ส. ., เหลือวิชา ท. ., & สุริยุทธ ศ. . (2022). The Creative Music Research: The Freedom Pee Pop-cheua for Experimental Music. Journal of Humanities, Social Sciences, and Arts, 3(1), 38–57. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsa/article/view/259278
Section
Research Article