ผลของการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลตามแนวคิดซาเทียร์ที่มีผลต่อความสุข

Main Article Content

กฤษณะ เริงสูงเนิน
รสสุคนธ์ ธัญถนอม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลตามแนวคิดซาเทียร์ ที่มีผลต่อความสุขของผู้รับบริการในบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 6 คน และกลุ่มควบคุม 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดความสุข  2) โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลตามแนวคิดซาเทียร์ ใช้สถิติ The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test ในการเปรียบเทียบคะแนนความสุขระหว่างก่อนทดลองและหลังทดลอง ของกลุ่มทดลองและใช้สถิติ The Mann-Whitney U Test ในการเปรียบเทียบคะแนนความสุขระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง หลังการทดลอง


ผลการวิจัยพบว่า


1.กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความสุข สูงกว่า ก่อนการให้คำปรึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2.กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความสุข หลังการได้รับคำปรึกษาแบบรายบุคคลแนวคิดซาเทียร์ สูงกว่าผู้รับบริการกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


 

Downloads

Article Details

How to Cite
เริงสูงเนิน ก., & ธัญถนอม ร. . (2022). ผลของการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลตามแนวคิดซาเทียร์ที่มีผลต่อความสุข. วารสารมนุษยสังคมศิลปาสาร, 3(1), 58–67. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsa/article/view/249438
บท
บทความวิจัย