พิธีระเปิปกับโครงสร้างสังคมและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของข่าพระแก้ว ภายใต้การเปลี่ยนแปลง; The Raperp Ritual with the Cultural Structure and Cultural Adaptation in the Context of Change
Keywords:
พิธีระเปิป, กลุ่มชาติพันธุ์ข่าพระแก้ว, พลวัติชาติพันธุ์, Ra-Perp ritual, Khaphrakaew ethnic group, ethnic dynamicAbstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพิธีระเปิปกับโครงสร้างสังคมวัฒนธรรมของชาวข่าพระแก้ว และการถูกนำมาใช้ประกอบสร้างความเป็นชาติพันธุ์ภายใต้อำนาจรัฐและความเปลี่ยนแปลง โดยใช้แนวคิดโครงสร้างหน้าที่ และพลวัติชาติพันธุ์ ผลการศึกษาพบว่า พิธีระเปิปเป็นพิธีที่สำคัญในการบูชาเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษมาแต่อดีต ได้สะท้อนโครงสร้างวัฒนธรรมคือ ระบบความเชื่อและกฎระเบียบในการควบคุมสังคมของชาวข่าพระแก้ว อย่างไรก็ดี ในบริบทของความเปลี่ยนแปลง ข่าพระแก้วได้เผชิญกับ
การครอบงำจากวัฒนธรรมลาวและอำนาจรัฐ ทำให้พวกเขาต้องปรับตัวทางวัฒนธรรมชาวข่าพระแก้วได้ปรับจารีตและความเชื่อดั้งเดิมของตนเองผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมพุทธศาสนาที่เป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมลาว พร้อมกันนั้นได้ใช้พิธีระเปิป (ในฐานะเป็น
ทรัพยากรทางวัฒนธรรมสำคัญ) มาประกอบสร้างความเป็นข่าพระแก้วอย่างมีความหมายทางสังคมและพลวัติชาติพันธุ์
Abstract
This article examines the Raperp ritual and the social structure of Khaphrakaew ethnic group and the construction of identity in the context of state-power and changes, using the structural-functional theory and ethnic dynamic as a conceptual framework. The study found that the Raperp ritual is an important ritual for worshiping the clan spirit since the past. It reflects the cultural structure, such as belief system and
regulations, which are the social control for Khaphrakaew group. However, in the context of change, Khaphrakaew ethnic group interacts with the domination of Lao culture and state-power, so that they adapt to blend traditional beliefs with the Lao culture based on Buddhism. At the same time, they adopt the Raperp ritual (as important cultural resource) to construct Khaphrakaewness as social meaning and flexibility.
References
เกียรติศักดิ์ บังเพลิง. (2558). ชุมชนชาติพันธุ์ "บรู" ร่วมสมัยบนพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว: วิถีชีวิตและการปรับตัวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ดุษฎีนิพนธ์ สาขามานุษยวิทยา).
เกียรติศักดิ์ บังเพลิง. (2559). ข่าพระแก้ว : พลวัตชาติพันธุ์ในบริบทประวัติศาสตร์และการเมืองลาว-ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช)
กรมชนเผ่า. (2008). บรรดาชนเผ่าใน สปป.ลาว. เวียงจันทน์: กรมชนเผ่า.
มาร์ติน สจ๊วต-ฟอกซ์. (2553). ประวัติศาสตร์ลาว (จิราภรณ์ วิญญรัตน์, Trans.). กรุงเทพ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
Gennep, A. v. (1959). The rites of passage: [Chicago] University of Chicago Press [1959].
Turner, V. W. (1969). The ritual process : structure and anti-structure: Chicago : Aldine Pub. Co. [1969].
Turner, V. W. (1974). Dramas, fields, and metaphors; symbolic action in human society: Ithaca [N.Y.] Cornell University Press [1974].